วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ฮวงโป 11

42. ธรรมกายที่แท้จริงของพุทธะ คือ ความว่าง มันไม่มีสิ่งที่ตั้งอยู่

43. ความคิดก่อให้เกิดตัวตน เมื่อตัดความคิดก็เป็นการตัดตัวตนอันเป็นเหตุให้เห็นธรรมกาน หรือพุทธะ หรือความว่าง

44. ไม่มีความแตกต่างระหว่าง
สามัญสัตว์ทั้งปวง-พระพุทธเจ้าทั้งหลาย สังสารวัฏ-นิพพาน โมหะ-โพธิ

45. รูปบัญญัติ (การบัญญัติชื่อ บัญญัติอย่างคติทวินิยม เช่น ดี-ชั่ว บุญ-บาป พุทธะ-สามัญสัตว์) ถูกเพิกไปหมดสิ้น ก็จะเห็นความว่างที่เป็นเมืองแห่งธรรมอย่างแท้จริง

46. จงละเว้นจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้นก็พอ! คุณไม่อาจใช้จิตแสวงหาจิต พุทธะแสวงหาพุทธะ ธรรมะแสวงหาธรรมะ

47. พฤติแห่งจิตทั้งหมดเป็นทางนำไปสู่ความผิดพลาด มีสิ่งที่ต้องทำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือ ถ่ายทอดจิตสู่จิต

ฮวงโป 10

38. การทำตนให้ลืมตาโดยฉับพลันต่อความจริงที่ว่า จิตของตนนั้นแหละคือ พุทธะ และไม่มีอะไรจะต้องบรรลุ หรือไม่มีอะไรที่จะต้องปฏิบัติ คือ วิธีการขั้นยอดสุดที่จะทำให้เป็นพุทธะได้อย่างแท้จริง

39. ความคิดแห่งอัตตาลวง เป็นสิ่งกีดขวางไม่ให้เข้าถึงพุทธะ

40. เมื่อปราถนาจะเป็นพุทธะ
(1) ไม่ต้องศึกษาคำสอนใด ๆ ทั้งหมด
(2) ไม่ผูกพันตนกับสิ่งทุกสิ่ง
(3) ไม่แสวงหาสิ่งใด
อันเป็นเหตุให้จิตไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ถูกทำลาย มีความว่าง เป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นและไม่ถูกทำลายนั้นแหละคือพุทธะ

41. วิธีการตั้ง 84,000 วิธี สำหรับสู้กับมายาหลอกลวง เป็นเพียงคำพูดอย่าง บุคคลาธิษฐานเพื่อชักชวนคนมาสู่ประตูนี้เท่านั้น ตามที่จริงแล้วไม่มีสักอย่างเดียวที่มีอยู่จริง การสลัดทุกสิ่งออกนั่นแหละคือตัวธรรม ผู้เข้าใจความจริงข้อนี้แหละคือ พุทธะ แต่การสละมายาออกทั้งหมดนั้นต้องไม่เหลือธรรมะอะไรไว้ให้ยึดถือกันจริง ๆ

ฮวงโป 9

33. เธอผู้แสวงหา มุ่งความก้าวหน้าโดย ดู ฟัง รู้สึก คิดนึก เมื่อถูกหลอกโดยสัญญาต่าง ๆ ของเธอเอง ทางเดินสู่จิตหนึ่งก็จะถูกตัดขาด(หลง)
ต้องหยุดความคิดปรุงแต่ง เพียงแต่เห็นอย่าเข้าไปเป็น จงเป็นผู้ดู ผู้สังเกตการณ์ ไม่วิพากษ์ สรุป

34. การค้นธรรม จงใช้เทคนิคการดู เห็น แต่อย่าเข้าไปเป็น

35. ชาวโลกใช้จิตแสวงหาธรรม (จิต = ธรรม) เป็นการผิดพลาด
จงขจัดความคิดปรุงแต่ง ๆๆๆ... ด้วยเทคนิคการเห็น ฝึกสติให้เป็นมหาสติ โดยใช้ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

36. โดยแท้จริงแล้วเราตถาคตไม่ได้ลุถึงผลอะไรจากการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ และไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า ... พระองค์เกรงคนไม่เชื่อ จึงทรงดึงความสนใจมายังสิ่งที่มนุษย์เห็นได้ และพูดกันได้ดุจกัน ดังเช่นเห็นด้วยตาเนื้อ เห็นด้วยตาทิพย์ เห็นด้วยตาธรรม เห็นด้วยตาพุทธะ

37. กินอย่างปาศจากความละโมบ คือ กินอย่างมีสติปัญญา
กินอย่างมีกิเลสตัณหา คือ ยินดีอย่างตะกละในอาหารที่สะอาด อร่อย

ฮวงโป 8

29.เห็นแจ้งในตนอย่างฉับพลัน คือ ยึดหลักธรรมหรือยึดจิตเท่านั้น นอกนั้นมิใช่หลักธรรม จิตคือหลักธรรม หลักธรรม คือ จิต จิตก็มิใช่จิต ตระหนักได้เข้าใจถึงบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง! จงเข้าใจอย่างนิ่งเงียบเถิด

30.การสร้างดี หรือชั่ว เพราะยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรม
ทำชั่ว ต้องทนรับการเกิดซ้ำซาก
ทำดี ตกเป็นทาสของความพยายาม และขาดแคลนเสมอ

31. เลิกละการคิด และการอธิบายเสีย! จับคลองแห่งคำพูด พฤติกรรมแห่งจิตก็ถูกเพิกถอนโดยสิ้นเชิง

32. จิตหนึ่ง หรือพุทธิโยนิอันบริสุทธิ์ คือกำเนิดและต้นตอแห่งความเป็นพุทธะ มีประจำอยู่แล้วในทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นสิ่งหนึ่งแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้นไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดจากความคิดผิด ๆ เท่านั้น และย่อมนำไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ฮวงโป 7

25.บนพื้นทรายประกอบด้วยเม็ดทราย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พรโพธิสัตว์ทั้งปวง พระอินทร์ และเทพเจ้าทั้งปวงเดินบนทราย...ทรายเหล่านั้นไม่มีความยินดีปรีดาอะไร
โค แกะ สัตว์เลื้อยคลาน มดและแมลงต่าง ๆ ทั้งหลายพากันเหยียบยำเลื้อยคลานไปบนมัน ... ทรายไม่รู้สึกโกรธ
สำหรับเพชรนิลจินดาและเครื่องหอม... ทรายไม่ปราถนา และสำหรับความปฏิกลของคูถและมูตรอันมีกลิ่นเหม็นทรายนั้นก็ไม่มีความรังเกียจ

26.จิตหนึ่งไม่ใช่จิตคิดปรุงแต่ง ปราศจากความเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง พระพุทธเจ้าทั้งปวงก็เฉกเช่นเดียวกับสัตว์โลกทั้งปวง จงปลดปล่อยตัวเองออกมาจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้นจะสำเร็จทั้งหมด

27.ถ้าเธอผูกพันอยู่กับการปฏิบัติเพื่อหวังบุญต่าง ๆ ตามแบบยานทั้งสาม(นิกายที่มิใช่เซ็น...เซ็นเห็นว่างุ่มง่าม) อยู่ดังนี้ เธอจะไม่สามารถลุถึงความรู้แจ้ง(รู้แจ้งแทงตลอดต่อจิตหนึ่ง)ได้เลย

28.ไม่ทำอะไร ๆ เพราะอยากได้ หรืออยากลุถึงอะไรเลย นั่นแหละคือสภาวะเดิมที่ไร้ทุกข์จะปรากฏออกมาเอง

ฮวงโป 6

22.การถวายทานแก่ผู้ทำลายความคิดปรุงแต่งดียิ่งกว่าถวายทานใด ๆ ต่อพระพุทธเจ้าทั้งปวงในสากลโลก

23.ผู้แสวงหาการหลุดพ้นโดยการเรียนรู้มีมากเหมือนขนสัตว์ และพวกที่ประสบความรู้แห่งทางทางโน้นด้วยใจตนเองมีน้อยเหมือนเขาสัตว์

24.พระโพธิสัว์มัญชุสี เป็นตัวแทนกฎแห่งธรรมที่เป็นมูลฐานของสัตว์ (กฏแห่งความว่างแท้จริง และไร้ขอบเขต)
พระโพธิสัตว์สมันตภัทร เป็นตัวแทนกฎแห่งกรรม(การเคลื่อนไหวที่ไมรู้จักหมดกำลังซึ่งอยู่ภายนอกวงเขตแห่งรูปธรรม)
พระโพธิสัตว์อวกิเตศวร เป็นตัวแทนความเมตตากรุณาอันไม่มีที่สิ้นสุด
พระโพธิสัตว์มหาสถามะ เป็นตัวแทนปัญญาอันยิ่งใหญ่
พระโพธิสัตว์วิมลกีรติ เป็นตัวแทนของชื่ออันไร้ตำหนิ(ธรรมชาติแท้จริงของสิ่งทั้งปวง)

*** คุณสมบัติเหล่านี้ถูกทำให้เป็นบุคคลาธิษฐานเป็นพระโพธิสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ ล้วนเป็นสิ่งประจำในคนเราไม่แยกไปต่างหากจากจิตหนึ่ง จงลืมตาดูมันเถิด มันอยู่ตรงนั้นเอง! มันอยู่ในใจของเธอเอง การหลงยึดมั่นต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ หรือแสวงหาบางอย่างจากฝ่ายรูปธรรมภายนอกใจเธอเป็นสิ่งผิดทาง

ฮวงโป 5

17.ถ้าเธอยังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต คือพุทธะ และถ้าเธอยังยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ก็ดี และต่อพิธีการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ก็ดี แนวคิดเธอก็ยังผิดพลาดอยู่ไม่เข้าร่องเข้ารอยกับทางทางโน้น ทาง คือ วิธีปฏิบัติที่ทำให้จิตหนึ่ง หรือพุทธะแท้ปรากฏตัว

18.จิตหนึ่ง แจ่มจ้า ไร้ตำหนิ เป็นความว่างที่ไร้รูป หรือปรากฏการณ์ใด ๆ เลย ถ้าใช้จิตปรุงคิดฝัน (ไปผูกพันตัวเองกับรูปธรรมซึ่งเป็นเปลือก)เป็นสิ่งที่ไร้สาระ

19.การปฏิบัติทุกรูปแบบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อหวังเป็นพุทธะสักองค์ เป็นการคืบไปทีละขั้น แต่พุทธะมีอยู่ตลอดกาล หารใช่พุทธะที่ลุได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ ... เพียงแต่ตื่นและลืมตาต่อจิตหนึ่งเท่านั้น! ไม่มีอะไรต้องลุถึง นั่นคือพุทธะที่แท้จริง

20.พุทธะและสัตวโลกทั้งปวง ก็คือ จิตหนึ่ง เป็นจิตที่ไร้ความสับสน ไร้ความไม่ดีต่าง ๆ เป็นความว่างที่ไร้การเปลี่ยนแปลง

21.มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวจะอิงอาศัยได้ เพราะว่า จิตหนึ่ง คือพุทธะ ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งที่เป็นสาระ คือจิตหนึ่งนี้แล้วเธอก็จะถูกปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของเธอเอง เที่ยวแสวงหาพุทธะนอกตัวเธอเอง และพวกเธอยังยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติแบบเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทุกสิ่งเป็นอันตรายเพราะว่ามิใช่หนทางสู่ความรู้สูงสุดแต่อย่างไร

ฮวงโป 4

13.ศุนยตา คือความปาศจากความยึดเหนี่ยวในความเป็นตัวตน ความว่างเป็นลักษณะของจิตหนึ่ง เมื่อแยกปรมณูโดยทำให้ลิเคตรอน และโปรตอนที่ล้อมรอบศุนยตานั้นแยกหลุดออกจากกันแล้วปล่อยให้กำลังแห่งศุนยตา หรือจิตหนึ่งระเบิดออกเป็นพลัง

14.จิตหนึ่ง หรือจิตพุทธะ อยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นสามัญสัตว์ หรือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

15.ถ้าเราเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น "พุทธะ" ก็จะปรากฏตรงหน้าเขาเอง

16.ความคิดปรุงแต่งคือ ความไม่รู้จักสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริงแล้วเกิดความคิดในรูปต่าง ๆ เรื่อยไปด้วยความไม่รู้ผสมกับอำนาจของสิ่งแวดล้อมปรุงแต่ง

16.ปารมิตาหก(ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน และปัญญา) และวัตรปฏิบัติอื่น ๆ ไร้ความหมายเมื่อเธอสมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานทุก ๆ กรณี คือเป็นจิตหนึ่ง ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพุทธะทั้งหลาย ซึ่งถ้าโอกาสมีก็ทำมันไป แต่ถ้าไม่มีเพียงอยู่เฉย ๆ ก็พอ

ฮวงโป 3

12. ทุกสิ่งในโลกมีความจริงเป็นสัจจะอยู่อย่างเดียว คือ จิตหนึ่งหรือจิตวิมุติ พลังอันแท้จริงของจักรวาลก็คือจิตหนึ่งหรือจิตวิมุตินั่นเอง จักรวาลเกิดจากจิตหนึ่ง และจิตหนึ่งคือธาตรู้ที่แท้ของจักวาล และจิตหนึ่งหรือจิตวิมุติหรือธาตุรู้ที่แท้นี้มีอยู่ในตัวของสิ่งทั้งหลายในจักรวาลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นทุกชีวิตจึงเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีเขา ไม่มีเรา แตกแยกเป็นตัวตนโดยเฉพาะมิได้ เพราะมีธาตุเชื้อธรรมชาติเดียวกัน ดังนั้นหลักแห่งพรหมวิหาร หรือเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาจึงเป็นหลักธรรมท่สำคัญที่สุด เพราะความเป็นหนึ่งแยกจากกันมิได้นี้เองที่ชี้ชัดว่า ถ้าเราไม่เมตตาต่อผู้อื่นก็เท่ากับเรามิได้เมตตาต่อตัวเราเอง

ฮวงโป 2

7.เซ็นไม่มีตำรา ไม่มีการติดตำรา ฉีกตำราให้หมดเพราะว่ามันเป็นม่านอวิชชา ตำราเป็นเพียงรอยบันทึกของคำพูด ธรรมตัวจริงแสดงไม่ได้ด้วยคำพูด

8.ความว่างของฮวงโปมันมีอยู่ตลอดกาลนิรันดร

9.การศึกษาวิชาการไม่ว่าจะเป็นวิชาอะไร แขนงใด นักศึกษาที่แท้จริงย่อมจะต้องเป็นผู้มีใจกว้างขวาง ประกอบด้วย ฉันทะ:รักใคร่ในการงาน วิริยะ:ความพยายาม จิตตะ:ความเพ่งเล็ง วิมังสา:การวิจัย

10.เราทำงานเพื่อประโยชน์ของงาน เพื่อให้กิจการนั้นเจริญและเพื่อให้โลกงดงาม

11.ความมหัศจรรย์ต่าง ๆ ล้วนเกิดจากพลังสำคัญคือกระแสจิตวิมุติ หรือจิตหนึ่งทั้งสิ้น

ฮวงโป 1

1. เซ็น เป็นของผู้ว่างจากปัญญา และว่างจากความโง่

2.เซ็น:ญี่ปุ่น ฌาน:จีน ธยาน:สันสกฤต

3.เพ่งอารมณ์ เพื่อให้เกิดสมาธิตามแบบสมถะ
เพ่งลักษณะ เพื่อให้เกิดญาณตามแบบวิปัสสนา
แต่ไม่ใช่แบบเซ็น

4.วัตถุประสงค์แห่งเซ็นเป็นการเพิงจิตให้เข้าถึงธรรมชาติเดิมของมัน

5.เซ็นเพ่งเพียงแทรกตัวเข้าไปในธรรมชาติล้วน ๆ โดยความช่วยเหลือ หรือความบันดาลของธรรมชาติ มิใช่ปัญญาอันแสนจะเพ้อเจ้อของมนุษย์ ละโง่และฉลาดเสีย เซ็นจึงจะโพล่งตัวออกมาเองจากที่หน้าผากของผู้นั้นเอง

6.ธรรมชาติอันบริสุทธิ์หรือแท้จริง ไม่เป็นความโง่หรือความฉลาด แต่เป็นธรรมชาติแห่งความว่าง แม้นลุธรรมแล้วก็ไม่รู้สึกว่าตนเป็นคนโง่หรือฉลาด แต่อยู่กับความว่างที่ไร้ขอบเขต

เว่ยหล่าง 5

22.เมื่ออาการของจิตเริ่มขึ้น สิ่งต่าง ๆ ก็ปรากฏ

23.ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ก็ถือกำเนิดจากสันดานในกามคุณ เมื่อกำจัดความปราถนาในทางกามคุณเสียได้เราก็บรรลุธรรมกายอันบริสุทธิ์

24.ไม่เป็นทาสของวัตถุแห่งกามทั้งห้า และตระหนักถึงภาวะแท้แห่งจิต ก็จะรู้แจ้งในสัจจะ

25.จงรู้จักจิตของท่านเอง ตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะของท่านซึ่งเป็นสิ่งที่
... ไม่สงบนิ่ง และไม่เคลื่อนไหว ไม่เกิดและไม่ดับ ไม่ไปและไม่มา ไม่รับและไม่ปฏิเสธ ไม่คงอยู่และไม่จากไป ...
มิฉะนั้นจะถูกครอบงำด้วยความหลงผิด

เว่ยหล่าง 4

(21)สิ่งที่เป็นของคู่ตรงกันข้าม 36 ประการได้แก่

1.วัตถุภายนอก 5 ประการ : ฟ้า-ดิน อาทิตย์-จันทร์ แสงสว่าง-มืด ธาตุบวก-ธาตุลบ ไฟ-น้ำ

2.ธรรมลักษณะ 12 ประการ : คำพูด-ธรรม การรับ-การปฏิเสธ สาระ-ไม่เป็นสาระ รูป-ปราศจากรูป ความแปดเปื้อน-ความไม่แปดเปื้อน ความมีอยู่-ความว่างเปล่า ความเคลื่อนไหว-ความสงบนิ่ง ความบริสุทธิ์-ความมีมลทิน สามัญชน-ปราชญ์ พระสงฆ์-ฆราวาส คนแก่-คนหนุ่ม ความใหญ่-ความเล็ก

3.กิจของภาวะที่แท้แห่งจิต : ยาว-สั้น ดี-ชั่ว อวิชชา-ปัญญา โง่-ฉลาด กระวนกระวาย-สงบนิ่ง กรุณา-ชั่วช้า ศีล-ไม่มีศีล ตรง-คด เต็ม-ว่าง ชัน-ระดับ กิเลส-โพธิ ถาวร-ไม่ถาวร เมตตา-โหดร้าย สุข-ทุกข์ อ่อนโยน-หยาบช้า ไปข้างหน้า-ถอยหลัง มีอยู่-ไม่มีอยู่ ธรรมกาย-กายเนื้อ สัมโภคกาย-นิรมานกาย

เว่ยหล่าง 3

(14)ใจคือสิ่งใด พุทธะคือสิ่งนั้น

(15)พระพุทธเจ้าเกิดชึ้นมาในโลกนี้เพื่อทำให้เกิดมี "การเห็นธรรมชาติที่ทำให้ผู้เห็นได้เป็นพุทธะ" ขึ้นได้ในโลกนั้นเองคือช่วยทำให้โอกาสแก่ "พุทธภาวะ" ที่มีอยู่ในทุก ๆ คนแสดงตัวออกมา

(16)การทำบุญที่ให้เกิดความไม่มีบุญนั่นแหละคือบุญ

(17)อาการของสิ่งทั้งหลายได้รับแรงกระตุ้นมาจากภาวะที่แท้แห่งจิต

(18)การทำจิตให้เป็นอิสระจากความกระวนกระวายทั้งหลาย คือ สมาธิของสภาวะที่แท้แห่งจิต

(19)สิ่งที่ไม่เพิ่มและลด นั่นคือวัขร(ภาวะแท้แห่งจิต)

(20)ภาวะที่แท้แห่งจิตก่อกำเนิดธรรมทั้งหลาย เมื่อคิดนึกหาเหตุผลแล้วภาวะแท้แห่งจิตก็จะกลายเป็นรูปวิญญาณชนิดต่าง ๆ

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เว่ยหล่าง 2

(9) เซ็นนั้นเล็งเห็นความสำนึกบาปอันเป็นอดีต การสำนึกถึงตัวบาป และกรรมชั่วในอดีตอันเราได้ประกอบขึ้นด้วยอำนาจความรู้ผิด ความไม่รู้ ความเย่อหยิ่ง ความอวดดี ความเคียดแค้น หรือความริษยา และอื่น ๆ จนถึงกับการทำความสิ้นสุดแห่งบาป เหล่านี้เรียกว่าเซ็น

(10) การรู้แจ้ง (ตรัสรู้) [พระพุทธเจ้า] --> เป็นเครื่องนำทาง เป็นยอดสุดของบุญและบาป
ความถูกต้องตามธรรมแท้ --> เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการรื้อภอนตันหา
คความบริสุทธิ์บพระสงฆ์] --> คุณชาติอันประเสริฐสุดของการได้เกิดเป็นมนุษย์

(11) ธรรมกาย คือ สิ่งซึ่งมีความเต็มเปี่ยมอยู่ในตัวเองอย่างแท้จริง

(12) การแสดงออกซึ่งปรากฏการณ์ทุกชนิด ... คือใจ
การเป็นอิสระจากธรรมทั้งปวง ... คือพุทธะ

(13) คำสอนที่ถูกต้อง คือ ให้บำเพ็ญปัญญาคู่ไปกับสมาธิโดยไม่แยกกัน

เว่ยหล่าง 1

(1) การกรรมฐานภาวนา คือ การเห็นชัดแจ้งในภายในต่อความแน่วแน่ไม่หวั่นไหวของจิตเดิมแท้

(2) ธยานะ(ฌาน) คือ การหลุดพ้นจากการพัวพันด้วยอารมณ์ภายนอกทุกประการ

(3) สมาธิ คือ การได้รับศานติภายใน

(4) ผู้สามารถรักษาจิตตนไว้ไม่ให้ปั่นป่วน ไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมชนิดไหนหมด นั่นแหละคือการบรรลุสมาธิ

(5) จิตเดิมแท้ของเรานั้นเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง

(6) เมื่อเราอยู่ในฐานะที่จะเล่นฌาน และดำรงจิตในภายในให้ตั้งอยู่ในสมาธิเมื่อนั้นจึงเชื่อว่าเราได้ลุถึง ธยานะและสมาธิ

(7) จงฝึกมันด้วยตนเอง และบรรลุถึงพุทธภาวะ ด้วยความพยายามของตนเองเถิด

(8) เคารพผู้ที่สูงกว่า อ่อนน้อมต่อผู้ต่ำกว่า เห็นอกเห็นใจคนที่หมดวาสนา และคนยากจน