วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วุฒิภาวะ 1






1. ท่านจะเลือกมีชีวิตอยู่แบบใด เหมือนถูกสะกดจิต (คน 99% เลือกแบบนี้) หรืออยู่อย่างตื่นตัว (เจริญพัฒนา = อย่างมีวุฒิภาวะ)

2. การแก่ตัวไม่ได้แปลว่าท่านฉลาดขึ้น โง่เมื่ออายุน้อย แต่ถ้ายังยึดพฤติกรรมแบบเครื่องหุ่นยนต์ก็จะยังคงเป็นคนโง่ที่แก่ตัวขึ้นเท่านั้นเอง

3. ความตายจะมาถึงคนที่แก่ตัวและสูงอายุ แต่ไม่เคยมาถึงคนที่มีวุฒิภาวะ(เจริญพัฒนา) คนที่มีวุฒิภาวะจะไม่ตายเพราะว่าเขาจะเรียนรู้เเม้ขณะจะตาย ความตายก็จะเป็นประสบการณ์ที่เขาอยู่อย่างใจจดใจจ่อเพื่อเฝ้าดู และยอมรับ

4. คนที่เจริญพัฒนาหรือมีวุฒิภาวะ ปราศจากความตาย มีความหยั่งรู้ สงบสุขและเบิกบาน

5. วิถีเข้าสู่ภาวะแห่งการเจริญพัฒนา และมีสติซึ่งทำให้ไม่ตายนั้น สื่อสารได้แต่ไร้ประโยชน์เพราะมันเป็นเพียงสัญญา (เป็นแค่ความรู้มิใช่การตรัสรู้ ซ่งต้องรู้เอง เห็นเองโดยมีประสบการณ์เอง) มีเหตุอะไรที่จะทำให้เป็นผู้มีสติ ตื่นรู้และเห็นความจริง เหตุอะไรที่ทำให้ท่านหลับใหลอยู่

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มหาโยคะ 8




41. เมื่อทุกคนมีประสบการณ์ตรงกับพระเจ้าที่เป็นหนึ่ง เขาจะเกิดความรู้สึกร่วมที่เป็นรากฐานของความรักที่แท้จริงในหมู่มวลมนุษยชาติอันเป็นทางรอดที่แท้จริง

42. วิถีชีวิตที่ดีงาม ตั้งอยู่บนความจริง ความรัก และความเรียบง่าย

43. จิตวิญญาณของมนุษย์เป็นนิรันดร ประสบการณ์ของจิตจะดำรงอยู่อย่างไม่มีขีดจำกัด ชีวิตของแต่ละคนคือการเรียนรู้ซึ่งจะยกจิตให้สมบูรณ์บรรลุถึงขั้นสูงสุดเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าซึ่งเป็นต้นตอแห่งจิต

44. การอุทิศตนรับใช้ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ คือการกระทำทีี่สูงสุดสำคัญยิ่งกว่าการบำเพ็ญตะบะ ถือศีลอด และปฏิบัติธรรมรูปแบบใดทั้งปวง

45. "โอม นะมะ ศิวะ" ท่องไว้ในใจ และออกเสีียงเสมอตลอดเวลา จะน้อมใจสู่พระเจ้า ขจัดความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดที่ไร้สาระซึ่งออกจากใจ
หมายเหตุ : อาจท่องชื่อพระเจ้าที่ผู้ฝึกเคารพบูชาแทน เช่น "โอม นะมะ พุทธะ "

46. ถึงแม้นจะเป็นฆราวาสก็สามารถบรรลุถึงความเป็นอิสระและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าละความยึดมั่นถือมั่นได้อย่างสิ้นเชิง

47. จักร : สพานเชื่อมกายกับจิต เป็นสิ่งเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับสิ่งสูงกว่า จักรเป็นจุดเชื่อมต่อกับมิติอื่น ผู้ใดหั่นปลุกจักร พลังจักรวาลจำนวนมหาศาลจะหลั่งไหลเข้าสู่ตัวโดยผ่านจักร กลายเป็นพลังภายในของคนผู้นั้นทำให้เขามีความสามารถต่าง ๆ นานาที่แต่เดิมเขาไม่มี

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มหาโยคะ 7

36. ผู้ใดที่หยั่งรู้ว่าตัวเองเป็นบุตรพระเจ้า ผู้นั้นจะมีพลังอำนาจแฝงภายในที่จะบรรลุจุดประสงค์ทุกอย่างที่ตั้งใจไว้ เพราะมนุษย์ทุกคนมีแหล่งผลิตพลังงานที่มีความเป็นพระเจ้าเหมือนกันทั้งสิ้น ดุจหินก้อนเล็กที่แฝงไว้ด้วยพลังนิวเคลียร์มหาศาล

37. ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ประสบอุปสรรคในการปฏิบัติธรรม และยกระดับจิตวิญญาณ เพราะว่าพวกเขามีพันธะทางครอบครัวและมีภาระทางสังคมอันหนักอึ้งที่ต้องแบกไว้

38. การใช้ชีวิตที่สมดุลทั้งภายนอกและภายในจะทำให้เห็นว่าการหลุดพ้นที่แท้จริงนั้นหาใช่การละทิ้งโลกภายนอกแต่อย่างใดไม่ แต่คือการละทิ้งโลกภายในต่างหาก (ทิ้งโลกียวิสัย(กิเลส) ภายใน)

39. จงเข้ามาหาด้วยหัวใจที่นอบน้อมถ่อมตน ผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักโยคะ (สมาธิ ริยาโยคะ) แม้นจะเป็นจำนวนน้อยของหมวดธรรมนี้ก็ยังป้องกันภัยมืด คือ ทุกข์อันเนื่องมาจากการเวียนว่ายตายเกิดได้

40. การที่จะสามารถเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้านั้นล้วนขึ้นอยู่กับความพยายาม ความเพียรแห่งตนเป็นสำคัญ ไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือศรัทธาในศาสนา หรือเจตนาของเทพแต่อย่างไร

มหาโยคะ 6

30. โลกวัตถุถูกชักใยโดยกฎแห่งมายา หรือหลักแห่่งความเป็นคู่ กับความเป็นสัมพันธภาพ

31. วิทยาศาสตร์แห่งวัตถุไม่อาจค้นหากฎที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของมายาที่เป็นองค์ฐานให้กับโลกแห่งปรากฏการณ์ได้

32. ผู้มีจิตสำนึกว่าตนคือจิตวิญญาณสากล ดำรงอยู่ในทุกแห่ง ... จะหมดความจำเป็นที่จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางกายภาพในฐานะที่เป็นร่างกายอยู่ในกรอบเวลา และสถานที่

33. ธาตุแท้แห่งจักรวาล คือ เเสง และคลื่นของพลังชีวิต

34. โยคีที่หลุดจากจิตสำนึกทางวัตถุโดยสิ้นเชิงสามารถปลดปล่อยตนจากพื้นที่แห่งสามมิติ และจากเวลาแห่งสี่มิติได้ ย่อมเคลื่อนย้ายกายตนไปสู่แสงได้ดังใจชอบ

35. ถ้าดวงตาที่สามเปิด ย่อมแลเห็นได้ชัดว่า กายตนเต็มไปด้วยแสง ความหลงผิดเกี่ยวกับวัตถุ หรือน้ำหนักเป็นมายาหลอกลวงเราจะถูกทำลายลงได้โดยการฝึกเพ่งจิตไปที่ "ตาที่สาม" เป็นเวลานาน ซึ่งจะก่อให้เกิดอภิญญาหรืออิทธิฤทธิ์ จักเกิดแต่ผู้ตรัสรู้อย่างแท้จริงว่าธาตุแท้ของสิ่งที่ถูกสร้างทั้งปวงคือแสง เขาสามารถใช้อนุภาคของแสงเนรมิตสิ่งต่าง ๆ ขึ้นได้ดังจินตนาการของเขา

มหาโยคะ 5

24. ทุกข์ของมนุษย์ล้วนเกิดจากการละเมืดล่วงเกินกฎของจักรวาลไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มนุษย์ควรมีความศรัทธาในพระเจ้าควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ คนเราสามารถผ่อนเบากรรมเก่าได้ด้วยการภาวนา ด้วยพลังจิตที่เข้มแข็ง ด้วยสมาธิของโยคะและด้วยความช่วยเหลือของอริยะบุคคล

25. มนุษย์มีแกนกลางกระดูกสันหลังที่เร้นลับแหลมคมฉับไว และมีแกนสมองใหญ่ที่มีศักยภาพที่จะรู้ทุกสรรพสิ่งได้

26. ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอินเดียกล่าวไว้ชัดเจนว่า จุดประสงค์ที่มนุษย์กลับชาติมาเกิดบนโลกนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ซ้ำ ๆ ๆ ๆ ... เพื่อเรียนรู้วิชา หรือวิธีการที่แสดงถึงจิตวิญญาณที่มีอำนาจเหนือวัตถุอย่างสิ้นเชิงกับผ่านประสบการณ์ชีวิตนับชาติไม่ถ้วน เพื่อให้เขาสามารถสำแดงคุณสมบัติแห่งพระเิจ้าที่ไร้ขอบเขตแห่งจิตวิญญาณออกมาภายใต้เงื่อนไขทางวัตถุที่จำกัดนั้นเอง

27. เพราะว่าความไม่รู้ทางจิตวิญญาณ หรืออวิชชา หรือการลืมความเป็นพระเจ้าในตนเองของมนุษย์ คือที่มาแห่งทุกข์ทั้งปวง

28. ตัวเราคือจิตวิญญาณและปราณ (พลังชีวิต คือ รูปลักษณ์หนึ่งของ "โอม" ที่เป็นคลื่นของจิต วิญญาณสากล) เป็นสิ่งให้ชีวิตแก่กาย

29. แม้นแค่ฝึกปราณให้ไหลเวียนขึ้นลง รอบ ๆ แกนกระดูกสันหลังเหล่านี้เพียงแค่ 30 วินาที เท่านั้น จิตวิญญาณของมนุษย์ผู้นั้นก็จะวิวัฒน์ไปอีกก้าวหนึ่งเมื่อเทียบกับระยะเวลาหนึ่งของวิวัฒนาการตามธรรมชาติของคนที่ใช้ชีวิตธรรมดา

มหาโยคะ 4

19. ผู้แสวงหาพระเจ้าอย่างจริงใจจะได้รับการปลดปล่อยจากสัญชาตญาณทั้งปวง นั่นคือแปรความอยากบนโลกให้เป็นความรักที่มีต่อพระเจ้าผู้เดีียว

20. นักวิชาการหรือปัญญาชนต้องระวังไม่ให้สิ่งที่ตนพูดเป็นความคิดอันล้ำเลิศแต่สิ่งที่ทำกลับเป็นเรื่องต่ำช้า ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนตนเองอย่างเข้มงวด หรือมิได้ปฏิบัติธรรม ปัญญามิใช่มาด้วยตา หรือสมอง แต่ต้องมาได้จากทุกอณูในกายทั้งหมดซึ่งซึมซับเอาสัจธรรมเข้าไปเป็นของตนเอง ปริญญากับการรู้แจ้งในพระเวทไม่เกี่ยวข้องกันเลย

21. มนุษย์หากยิ่งตื่นในความเป็นจิตวิญญาณของตนมากเท่าใด เขายิ่งถูกครอบงำโดยวัตถุน้อยลงเพียงนั้น จิตวิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นเสรีตลอดกาล ไม่มีเกิด ไม่มีตาย และไม่ถูกบงการโดยตวงดาว

22. มนุษย์คือจิตวิญญาณ กายเป็นเพียงสิ่งอาศ้ัยชั่วคราวเท่านั้น ถ้ามนุษย์รับรู้แก่นแท้แห่งตนอย่างถูกต้องย่อมจะเป็นอิสระจากการถูกจองจำโดยกฏต่าง ๆ ของปรากฏการณ์ทั้งปวง

23. แผนที่ไม่จำเป็นสำหรับนักเดินทางก็ต่อเมื่อเขาถึงท่หมายแล้ว ดังนั้นระหว่างเดินทางแผนที่เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้นักเดินทาง ไม่หลงทางไปทาทางไปทางลัดฉันใด นักปราชญ์และอริยบุคคลโบราณได้ค้นวิธีการหลายอย่างที่จะช่วยให้ร่นระยะทางในการเดินทางท่ามกลางความหลงได้ นั่นคือปัญญาสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเข้ากระทำ และส่งผลต่อกฎแห่งกรรมได้

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มหาโยคะ 3

14. ผู้รู้ซึ้งถึงธาตุแท้ของวัตถุมิใช่นักฟิสิกส์ แต่เป็นมหาโยคีที่ลุอย่างแท้จริง

15. ไม่มีอุปสรรคใดเลยที่จะเอาชนะไม่ได้ในการที่มนุษย์จะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า ขอเพียงผู้นั้นไม่สูญเสียจิตใจที่มุ่งแสวงหาทางจิตวิญญาณเท่านั้น

16. พระเจ้าจะปรากฏขึ้นเหนือกายที่มีสุขภาวะที่ดี และใจที่แข็งแรง
กาย: วางใจไม่ได้ ดูแลให้ดีตามอัตภาพ แต่อย่าฟูมฟักทะนุถนอมจนเกินไป ทุกข์สุขเป็นของชั่วคราว ทำใจให้สงบ เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่เกิดจากทวิภาวะ(ความเป็นคู่) ด้วยใจที่เยือกเย็น พยายามทำตัวเองให้พ้นอำนาจมัน

17. โรคและการหายจากโรค โรคเป็นสิ่งภายนอกเข้าสู่ตัวเราโดยผ่านทวารที่เรียกว่า จินตนาการ ถ้าขับไล่ความคิดว่าตัวเราไม่สบายออกไปจากตัวได้ โรคก็ต้องไปจากเราดุจผู้มาเยือนที่เจ้าของไม่ต้อนรับ

18. การมุ่งแสวงหาความสำราญจากประสาทสัมผัสโดยไม่หยุดหย่อน คือบ่อนทำลายสันติสุขแห่งใจโดยแท้ เป็นการเจาะรูที่ก้นถังทำให้น้ำซึ่งเป็นพลังแห่งชีวิตถูกดูดซึมหายไปในทะเลทรายแห่งวัตถุนิยมไปจนหมดสิ้น

มหาโยคะ 2

7. เราต้องมุ่งชนะ "กิเลสตน" ในใจให้ได้ เพื่อเป็นผู้พิชิตใจ

8. จะเป็นชาวตะวันตกหรือตะวันออกที่ต่างขนบธรรมเนียมประเพณีกัน แต่จิตวิญญานล้วนไม่ต่างกัน

9. บนมรรควิถีของการค้นหาพระเจ้าให้พบ จะขาดความรักไม่ได้ การที่ท่านละสุขทางโลกและทรัพย์สินท่านสูญเสียสิ่งใดหรือไม่? ...เปล่าเลย! เราแค่ทิ้งเงินและความสำราญที่ไร้ความหมายและมีค่าเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ได้มาซึ่งมหาจักรวาลที่เปี่ยมบรมสุขอันนิรันดร์

10. เราไม่คิดว่าต้องอดกลั้นความอยากเลย เพราะว่าไม่คิดว่าต้องสูญเสียหรือสละอะไรเลยในสายตาเรา คนจำนวนมากที่มองแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าต่างหากที่สูญเสีย หรือสละอะไรไปมากมายเพราะว่าพวกเขาได้สละทิ้งของขวัญอันสูงสุดจากพระเจ้าเพื่อแลกมาซึ่งของเล่นบนโลกนี้ที่มีค่าน้อยนิดเหลือเกิน

11. สุขภาพของคนจะเป็นดั่งที่จิตใต้สำนึกของคนนั้นคิด อย่าลืมว่าความคิดมีพลังเฉกเช่นไฟฟ้า หรือแรงดึงดูดของโลก ใจของคนก็คือสะเก็ดไฟแห่งจิตสำนึกของพระผู้เป็นเจ้า หากคนเรามีความศรัทธาจริงใจด้วยใจเปี่ยมพลังย่อมจะบรรลุทุกสิ่งที่มุ่งมั่นจะทำ

12. การสำแดงคุณธรรมที่ตัวเองมีอย่างเอาการเอางานต่างหากที่จะช่วยขัดเกลาสติปัญญาทางธรรมได้

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มหาโยคะ 1

1. พระเจ้าเป็นสิ่งที่เรียบง่าย สิ่งอื่นที่มิใช่พระเจ้าเป็นสิ่งที่ซับซ้อน จงอย่าหาความสัมบูรณ์ในโลกธรรมชาติที่สัมพัทธ์นี้เลย

2. สัจธรรมเป็นเอกภาพที่ไร้ความขัดแย้งซึ่งหลุดจากมายาแห่งความเป็นคู่ได้

3. การพิจารณาตนเอง สังเกตติดตามการเคลื่อนไหวแห่งใจตนเองอย่างเยือกเย็น เป็นทุกขกิริยาอย่างหนึ่งที่ใช้แรงกายแรงใจมากเหลือเกิน เพราะว่าเราจะต้องบดขยี้อัตตา ความอหังการ์ของตัวเราที่ดื้อรั้น และฝังรากลึกในจิตใจของเราให้แหลกละเอียด .... การวิเคราะห์ตนเช่นนี้เชื่อว่ามันจะนำพาตัวเราให้กลายเป็นผู้ตื่นได้ในที่สุดซึ่งมันยาก! เพราะคนเราชอบหลอกตัวเองเสมอ

4. จิตเป็นตัวปกครองกาย เมื่อจิตบงการณ์ มีเจตนารมณ์ หรือเจตจำนงมุ่งมั่น กายย่อมแสดงออกมา ... กายถูกสร้างขึ้นและถูกค้ำจุนด้วยใจโดยแท้

5. แรงกดดันของสัญชาติญานที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตชาติของเราจะแทรกซึงเข้ามาในชาตินี้ในรูปความเข้มแข็งหรืออ่อนแอ กลายเป็นสันดานหรือนิสัยใจคอของแต่ละคน รวมทั้งคุณสมบัติต่าง ๆ ของกายแต่ละคนให้แตกต่างกันไปด้วย

6. กายอ่อนแอแสดงถึงความอ่อนแอในใจ กายที่ถูกจองจำโดยสันดาน หรือนิสัยใจคอจะกีดขวางการทำงานโดยเสรีของใจ เกิดเป็นวงจรอุบาศว์ขึ้นมา

ฮวงโป 17

80. ในจิตหนึ่ง มิใช่ทั้งพุทธะ และ ปวงสัตว์ ในจิตหนึ่งไม่มีคติทวินิยม
81. การแก้คติทวินิยมให้ชี้ตรงไปที่จิต และเนื้อหาอันแท้จริงดั้งเดิมของเราในฐานะความจริงแท้แล้วเป็นพุทธะอยู่แล้วทั้งหมด
82. เมื่อตัดความคิดปรุงแต่งก็เกิดญาณ
82. ความรู้สึกด้วยใจจริงนี้เท่านั้นเรียกว่า ธรรมะ เมื่อธรรมะถูกรู้อย่างประจักษ์เราย่อมพูดถึงพุทธะได้
83. โพธิ คือ ความไม่มีแห่งความคิดว่า มีอยู่ หรือ ไม่มีอยู่
84. เราไม่สามารถเป็นอะไรที่เราได้เป็นอยู่แล้วตลอดเวลาได้อีก เราสามารถเพียงแต่รู้ถึงภาวะดั้งเดิมของเราอย่างลึกซึ้งโดยประจักษ์เท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้มันถูกบดบังด้วยเมฆแห่งมายา คือ อวิชชา
85. หยุด ความคิดปรุงแต่ง การแสวงหา ความรู้ในทางต่าง ๆ ดู เห็น แต่ไม่เป็น หยุดกระแสความคิดปรุงแต่งได้ทุกอย่างก็ไร้ซึ่งความผิดใด ๆ เมื่อความคิดเกิด สิ่งต่าง ๆ ก็เกิด เมื่อความคิดดับสิ่งต่าง ๆ ก็ดับ
86. ความว่าง เป็นสิ่งที่สิงซึมอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง เป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งที่มีอยู่โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น
หมายเหตุ
(1) ซาโตริ (satori) หรือ ญาณที่โล่งออกมาแบบสายฟ้าแลบ
(2) ฮวงโป : น้ำเสียงนุ่มนวล น่าฟัง มารยาท เสงีี่่ยมและสงบ

ฮวงโป 16

72. ภาวะแห่งความสงบนั้นคือมหาสมุทรแห่งญาณ
73. สังสารวัฏ คือ ความสับสนที่หมุนเชี่ยวอยู่
74. ความรู้ที่ฉันได้รับ การศึกษาที่ฉันได้กระทำ ความเข้าใจอันลึกซึ้งของฉัน วิถีชีวิตในทางธรรมของฉัน ความหลุดพ้นจากการเวียนเกิดของฉัน ... เป็นความคิดแห่งความสำเร็จที่ทำให้รู้สึกสุข ... นี้เป็นความผิดพลาดอย่างน่าทุเรศ! มันเป็นประโยชน์อะไรล่ะต่อจิตหนึ่ง
75. ทุกสิ่งมีการเคลื่อนไหว สลายตัว เปลี่ยนแปลงเสมอ ( สู่ความว่าง )
76. มหาศุนยตา หรือ ความว่างมหาศาลครอบคลุมโลกทั้งปวง ซึมอยู่ในทุกสิ่ง และเป็นความว่างเนื้อเดียวกันหมดมิมีแบ่งแยก
77. หลักการ :
(1) คงสภาพสงบเงียบ อยู่อย่างมีระเบียบ
(2) อยู่เหนือกรอบของตน
(3) อย่าลวงตนโดยคิดปรุงแต่ง
78. ความคิดต่าง ๆ ภายในใจ ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดจากอารมณ์ภายนอกนั้น เป็นเหตุให้เดินทางผิดได้พอ ๆ กัน
79. ทางแห่งพุทธะทั้งหลาย ทางแห่งมารทั้งปวง เป็นอันตรายแก่เธอเช่นเดียวกัน เพราะทำให้ความคิดไปในทางมีตังตนเป็นนั่นนี่ เพียงแต่คิดว่ามีทางก็เป็นอันตรายต่อความเข้าใจถูก ยังไปคิดว่ามี พุทธะ หรือ มาร เป็นเจ้าของทางและมีจุดหมายปลายทาง เป็นความคิดปรุงแต่ง ทำให้เกิดความคิดปรุงแต่งสืบต่อไปมิหยุดตัวตนที่พัวพันกันเอง

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ฮวงโป 15

65. จิตหนึ่งเป็นสิ่งที่ปราศจากความเป็นอันเดียวกัน ปราศจากความเป็นเหตุและผล

66. ทางหลาย ๆ แบบที่พระพุทธเจ้าท่านใช้แต่เพียงเป็นอุบายล้วน ๆ เพื่อปลดเปลื้องสัตว์ที่ยังจมอยู่ในความหลงผิดเต็มที่เท่านั้น

67. ตถาคต หรือ ตถาตา คือ ความเป็นตามที่เป็นจริง ๆ ของสิ่งทั้งหลายตามที่ปรากฏให้เห็น

68. สังขารธรรมทั้งปวง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะ และดับไป คือ ไม่มีอะไรล้วน ๆ

69. สิ่งที่มีรูปต่างกันอย่างไร ที่แท้เป็นส่งเดียวกันโดยความเป็นของว่างเข่นกัน หรือจิตหนึ่งนั้น ไม่ควรเห็นเป็นพวก ๆ ซึ่งทำให้รักอย่างนั้น ชังอย่างนี้

70. มหาศุนยตา คือ ความว่าง อันเป็นภาวะแห่งความสมบูรณ์ (นิพพาน) ซึ่งในนั้นไม่มีความพร่องและความล้น เป็นความสงบเงียบอย่างมีระเบียบซึ่งในนั้นการกระทำทั้งปวงย่อมหยุดนิ่ง

71. อันตราย! การคิดแบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ เป็นพวก ๆ

ฮวงโป 14

59. ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่ปรากฏแก่เราอยู่นี้เป็นสิ่งสร้างสรรค์ขึ้นของความคิด

60. ทุกสิ่งที่เรารู้สึก หรือคิดว่ามันเป็นอะไรต่าง ๆ นั้น เป็นสิ่งที่เราเห็นไปเอง คิดไปเองว่าเป็นเช่นนั้น เนื่องจากความหลงของเรา และความมายาของมัน ตัวจริง(ปรมัตถ์) มันว่าง
พุทธะ : ว่าง สามัญสัตว์ : ว่าง เลว : ว่าง ฯลฯ : ว่าง

61. จิตหรือความว่างอยู่เหนือกรรม คือมันไม่ทำกรรมหรือรับผลของกรรม ดังนั้นสิ่งที่ปรากฏแก่เราทั้งหมดซึ่งมาจากจิตก็ไม่ควรเป็นกรรม หรือเป็นเหตุให้เราทำกรรม ไม่ยั่วให้เราทำกรรม ไม่เกี่ยวกับความคิดปรุงแต่ง ไม่สร้างให้เกิดความคิดปรุงแต่ง

62. ความมี ความเป็น ท่ปรากฏแก่เธอว่า มันต่าง ๆ กันนั้นเป็นเพราะ ความสำคัญมั่นหมายของเธอเองต่างหาก

63. พุทธะลักษณะ 32 ประการ ก็เพียงสักว่าเป็นลักษณะของรูป
อุดมการณ์ 80 ประการก็ยังตกอยู่ในวงของสสาร(วัตถุ) อยู่นั่นเอง

64. ผู้ใดสำคัญว่าตัวตนมีอยู่ในสสารก็เป็นผู้กำลังเดินทางผิด ดังนั้นเขาจึงไม่สามารถเข้าใจเรื่องของพระตถาคตเจ้าได้อย่างถูกต้อง

ฮวงโป 13

53. ความคิดปรุงแต่ง คือ ความคิดที่เป็นไปตามอำนาจของกิเ ลสตัณหา

54. ด้วยความคิดปรุงแต่งที่เป็นคตินิยม เช่น สัตว์ที่ตรัสรู้แล้ว-สัตว์ที่ยังโง่หลง บริสุทธิ์-ไม่บริสุทธิ เป็นสิ่งปิดกั้นไม่ให้เห็นแจ้ง ดังนั้นธรรมจักร (หลักธรรมอย่างโลกิยะซึ่งถือเคร่งตามตำราของผู้ยึดมั่นตามคำสอนจะต้องมีการสอนเรื่อยไป) จำเป็นต้องหมุนไป

55. "หยุด" การศึกษาของเธอเสีย เลิกล้างความคิดว่า โง่หรือฉลาด บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ใหญ่หรือเล็ก ฯลฯ เสียให้สิ้นเชิง ตัดความยึดมั่นถือมั่น และหยุดการกระทำเสียอย่างเด็ดขาดเพราะมันเป็นเพียงเครื่องประดับ(อันไม่จำเป็น) ภายในจิตหนึ่งเท่านั้น

56. การเชื่ออย่างหมอบราบคาบแก้วของพวกเธอนั้นเป็นสิ่งไร้ผล อย่าปลงความเชื่อลงไปในพิธีรีตองต่าง ๆ ทำนองนั้น รีบหนีไปเสียโดยเร็วจากความเห็นผิด เชื่อผิด ในทำนองนั้น

57. จิตหรือความว่างแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้ ฉะนัน้จึงไม่อาจแบ่งแยกเป็นชนิดต่าง ๆ จนเกิดมีคู่ตรงกันข้าม ... การเห็นแบ่งแยกเช่นนั้นเป็นการหลงผิด

58. จิตเป็นสิ่งเหนือการกระทำกรรมทั้งปวง ดังนั้นปรากฏการณ์ทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้นด้วย กระทำด้วยจิตไม่แบ่งแยกเป็นเพียงกิริยาซึ่งทำด้วยความคิดที่มีสติ

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ฮวงโป 12

48. ระวังการเพ่งเล็งไปภายนอก สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ การเข้าใจผิดว่าสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทางวัตถุมีอยู่เพียงจิตเท่านั้นก็เท่ากับไปเข้าใจว่าโจรเป็นลูก

49. จงสังเกตให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่มันเป็นจริงและอย่าไปสนใจคนอื่น มีบางคนเหมือนสุนัขบ้าแท้ ๆ มันเห่าทุกสิ่งที่เคลื่อนไหว เห่าจนกระทั่งใบหญ้าใบไม้ที่กระดุกกระดิกเมื่อถูกลมพัด

50. จิตนั้นเหมือนดวงอาทิตย์ในข้อที่มันอยู่ในความว่างตลอดนิรันดร ส่องแสงได้โดยธรรมชาติของมันเอง และส่องแสงได้โดยไม่ตั้งใจส่อง

ุ51. พุทธะอยู่ที่จิต ธรรมะอยู่ที่ว่าง พบช่องว่าง(สุญตา) นั่นคือนิพพานแล้ว

52. เพราะว่าจิตคือพุทธะ วิธีที่ฉลาดที่สุด เพื่อลุถึงสิ่ง ๆ นี้คือ การเพาะให้พุทธะ-จิต นั้นผลิออกมาให้เห็นเท่านั้นก็พอ เพียงแต่เธอทำมันให้ว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก พวกเธอไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธีปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้อะไรทำนองนั้นนานาชนิดเลย

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ฮวงโป 11

42. ธรรมกายที่แท้จริงของพุทธะ คือ ความว่าง มันไม่มีสิ่งที่ตั้งอยู่

43. ความคิดก่อให้เกิดตัวตน เมื่อตัดความคิดก็เป็นการตัดตัวตนอันเป็นเหตุให้เห็นธรรมกาน หรือพุทธะ หรือความว่าง

44. ไม่มีความแตกต่างระหว่าง
สามัญสัตว์ทั้งปวง-พระพุทธเจ้าทั้งหลาย สังสารวัฏ-นิพพาน โมหะ-โพธิ

45. รูปบัญญัติ (การบัญญัติชื่อ บัญญัติอย่างคติทวินิยม เช่น ดี-ชั่ว บุญ-บาป พุทธะ-สามัญสัตว์) ถูกเพิกไปหมดสิ้น ก็จะเห็นความว่างที่เป็นเมืองแห่งธรรมอย่างแท้จริง

46. จงละเว้นจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้นก็พอ! คุณไม่อาจใช้จิตแสวงหาจิต พุทธะแสวงหาพุทธะ ธรรมะแสวงหาธรรมะ

47. พฤติแห่งจิตทั้งหมดเป็นทางนำไปสู่ความผิดพลาด มีสิ่งที่ต้องทำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือ ถ่ายทอดจิตสู่จิต

ฮวงโป 10

38. การทำตนให้ลืมตาโดยฉับพลันต่อความจริงที่ว่า จิตของตนนั้นแหละคือ พุทธะ และไม่มีอะไรจะต้องบรรลุ หรือไม่มีอะไรที่จะต้องปฏิบัติ คือ วิธีการขั้นยอดสุดที่จะทำให้เป็นพุทธะได้อย่างแท้จริง

39. ความคิดแห่งอัตตาลวง เป็นสิ่งกีดขวางไม่ให้เข้าถึงพุทธะ

40. เมื่อปราถนาจะเป็นพุทธะ
(1) ไม่ต้องศึกษาคำสอนใด ๆ ทั้งหมด
(2) ไม่ผูกพันตนกับสิ่งทุกสิ่ง
(3) ไม่แสวงหาสิ่งใด
อันเป็นเหตุให้จิตไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ถูกทำลาย มีความว่าง เป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นและไม่ถูกทำลายนั้นแหละคือพุทธะ

41. วิธีการตั้ง 84,000 วิธี สำหรับสู้กับมายาหลอกลวง เป็นเพียงคำพูดอย่าง บุคคลาธิษฐานเพื่อชักชวนคนมาสู่ประตูนี้เท่านั้น ตามที่จริงแล้วไม่มีสักอย่างเดียวที่มีอยู่จริง การสลัดทุกสิ่งออกนั่นแหละคือตัวธรรม ผู้เข้าใจความจริงข้อนี้แหละคือ พุทธะ แต่การสละมายาออกทั้งหมดนั้นต้องไม่เหลือธรรมะอะไรไว้ให้ยึดถือกันจริง ๆ

ฮวงโป 9

33. เธอผู้แสวงหา มุ่งความก้าวหน้าโดย ดู ฟัง รู้สึก คิดนึก เมื่อถูกหลอกโดยสัญญาต่าง ๆ ของเธอเอง ทางเดินสู่จิตหนึ่งก็จะถูกตัดขาด(หลง)
ต้องหยุดความคิดปรุงแต่ง เพียงแต่เห็นอย่าเข้าไปเป็น จงเป็นผู้ดู ผู้สังเกตการณ์ ไม่วิพากษ์ สรุป

34. การค้นธรรม จงใช้เทคนิคการดู เห็น แต่อย่าเข้าไปเป็น

35. ชาวโลกใช้จิตแสวงหาธรรม (จิต = ธรรม) เป็นการผิดพลาด
จงขจัดความคิดปรุงแต่ง ๆๆๆ... ด้วยเทคนิคการเห็น ฝึกสติให้เป็นมหาสติ โดยใช้ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

36. โดยแท้จริงแล้วเราตถาคตไม่ได้ลุถึงผลอะไรจากการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ และไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า ... พระองค์เกรงคนไม่เชื่อ จึงทรงดึงความสนใจมายังสิ่งที่มนุษย์เห็นได้ และพูดกันได้ดุจกัน ดังเช่นเห็นด้วยตาเนื้อ เห็นด้วยตาทิพย์ เห็นด้วยตาธรรม เห็นด้วยตาพุทธะ

37. กินอย่างปาศจากความละโมบ คือ กินอย่างมีสติปัญญา
กินอย่างมีกิเลสตัณหา คือ ยินดีอย่างตะกละในอาหารที่สะอาด อร่อย

ฮวงโป 8

29.เห็นแจ้งในตนอย่างฉับพลัน คือ ยึดหลักธรรมหรือยึดจิตเท่านั้น นอกนั้นมิใช่หลักธรรม จิตคือหลักธรรม หลักธรรม คือ จิต จิตก็มิใช่จิต ตระหนักได้เข้าใจถึงบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง! จงเข้าใจอย่างนิ่งเงียบเถิด

30.การสร้างดี หรือชั่ว เพราะยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรม
ทำชั่ว ต้องทนรับการเกิดซ้ำซาก
ทำดี ตกเป็นทาสของความพยายาม และขาดแคลนเสมอ

31. เลิกละการคิด และการอธิบายเสีย! จับคลองแห่งคำพูด พฤติกรรมแห่งจิตก็ถูกเพิกถอนโดยสิ้นเชิง

32. จิตหนึ่ง หรือพุทธิโยนิอันบริสุทธิ์ คือกำเนิดและต้นตอแห่งความเป็นพุทธะ มีประจำอยู่แล้วในทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นสิ่งหนึ่งแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้นไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดจากความคิดผิด ๆ เท่านั้น และย่อมนำไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ฮวงโป 7

25.บนพื้นทรายประกอบด้วยเม็ดทราย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พรโพธิสัตว์ทั้งปวง พระอินทร์ และเทพเจ้าทั้งปวงเดินบนทราย...ทรายเหล่านั้นไม่มีความยินดีปรีดาอะไร
โค แกะ สัตว์เลื้อยคลาน มดและแมลงต่าง ๆ ทั้งหลายพากันเหยียบยำเลื้อยคลานไปบนมัน ... ทรายไม่รู้สึกโกรธ
สำหรับเพชรนิลจินดาและเครื่องหอม... ทรายไม่ปราถนา และสำหรับความปฏิกลของคูถและมูตรอันมีกลิ่นเหม็นทรายนั้นก็ไม่มีความรังเกียจ

26.จิตหนึ่งไม่ใช่จิตคิดปรุงแต่ง ปราศจากความเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง พระพุทธเจ้าทั้งปวงก็เฉกเช่นเดียวกับสัตว์โลกทั้งปวง จงปลดปล่อยตัวเองออกมาจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้นจะสำเร็จทั้งหมด

27.ถ้าเธอผูกพันอยู่กับการปฏิบัติเพื่อหวังบุญต่าง ๆ ตามแบบยานทั้งสาม(นิกายที่มิใช่เซ็น...เซ็นเห็นว่างุ่มง่าม) อยู่ดังนี้ เธอจะไม่สามารถลุถึงความรู้แจ้ง(รู้แจ้งแทงตลอดต่อจิตหนึ่ง)ได้เลย

28.ไม่ทำอะไร ๆ เพราะอยากได้ หรืออยากลุถึงอะไรเลย นั่นแหละคือสภาวะเดิมที่ไร้ทุกข์จะปรากฏออกมาเอง

ฮวงโป 6

22.การถวายทานแก่ผู้ทำลายความคิดปรุงแต่งดียิ่งกว่าถวายทานใด ๆ ต่อพระพุทธเจ้าทั้งปวงในสากลโลก

23.ผู้แสวงหาการหลุดพ้นโดยการเรียนรู้มีมากเหมือนขนสัตว์ และพวกที่ประสบความรู้แห่งทางทางโน้นด้วยใจตนเองมีน้อยเหมือนเขาสัตว์

24.พระโพธิสัว์มัญชุสี เป็นตัวแทนกฎแห่งธรรมที่เป็นมูลฐานของสัตว์ (กฏแห่งความว่างแท้จริง และไร้ขอบเขต)
พระโพธิสัตว์สมันตภัทร เป็นตัวแทนกฎแห่งกรรม(การเคลื่อนไหวที่ไมรู้จักหมดกำลังซึ่งอยู่ภายนอกวงเขตแห่งรูปธรรม)
พระโพธิสัตว์อวกิเตศวร เป็นตัวแทนความเมตตากรุณาอันไม่มีที่สิ้นสุด
พระโพธิสัตว์มหาสถามะ เป็นตัวแทนปัญญาอันยิ่งใหญ่
พระโพธิสัตว์วิมลกีรติ เป็นตัวแทนของชื่ออันไร้ตำหนิ(ธรรมชาติแท้จริงของสิ่งทั้งปวง)

*** คุณสมบัติเหล่านี้ถูกทำให้เป็นบุคคลาธิษฐานเป็นพระโพธิสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ ล้วนเป็นสิ่งประจำในคนเราไม่แยกไปต่างหากจากจิตหนึ่ง จงลืมตาดูมันเถิด มันอยู่ตรงนั้นเอง! มันอยู่ในใจของเธอเอง การหลงยึดมั่นต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ หรือแสวงหาบางอย่างจากฝ่ายรูปธรรมภายนอกใจเธอเป็นสิ่งผิดทาง

ฮวงโป 5

17.ถ้าเธอยังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต คือพุทธะ และถ้าเธอยังยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่าง ๆ ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ก็ดี และต่อพิธีการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ก็ดี แนวคิดเธอก็ยังผิดพลาดอยู่ไม่เข้าร่องเข้ารอยกับทางทางโน้น ทาง คือ วิธีปฏิบัติที่ทำให้จิตหนึ่ง หรือพุทธะแท้ปรากฏตัว

18.จิตหนึ่ง แจ่มจ้า ไร้ตำหนิ เป็นความว่างที่ไร้รูป หรือปรากฏการณ์ใด ๆ เลย ถ้าใช้จิตปรุงคิดฝัน (ไปผูกพันตัวเองกับรูปธรรมซึ่งเป็นเปลือก)เป็นสิ่งที่ไร้สาระ

19.การปฏิบัติทุกรูปแบบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อหวังเป็นพุทธะสักองค์ เป็นการคืบไปทีละขั้น แต่พุทธะมีอยู่ตลอดกาล หารใช่พุทธะที่ลุได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ ... เพียงแต่ตื่นและลืมตาต่อจิตหนึ่งเท่านั้น! ไม่มีอะไรต้องลุถึง นั่นคือพุทธะที่แท้จริง

20.พุทธะและสัตวโลกทั้งปวง ก็คือ จิตหนึ่ง เป็นจิตที่ไร้ความสับสน ไร้ความไม่ดีต่าง ๆ เป็นความว่างที่ไร้การเปลี่ยนแปลง

21.มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวจะอิงอาศัยได้ เพราะว่า จิตหนึ่ง คือพุทธะ ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งที่เป็นสาระ คือจิตหนึ่งนี้แล้วเธอก็จะถูกปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของเธอเอง เที่ยวแสวงหาพุทธะนอกตัวเธอเอง และพวกเธอยังยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติแบบเมาบุญต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ทำนองนั้น ทุกสิ่งเป็นอันตรายเพราะว่ามิใช่หนทางสู่ความรู้สูงสุดแต่อย่างไร

ฮวงโป 4

13.ศุนยตา คือความปาศจากความยึดเหนี่ยวในความเป็นตัวตน ความว่างเป็นลักษณะของจิตหนึ่ง เมื่อแยกปรมณูโดยทำให้ลิเคตรอน และโปรตอนที่ล้อมรอบศุนยตานั้นแยกหลุดออกจากกันแล้วปล่อยให้กำลังแห่งศุนยตา หรือจิตหนึ่งระเบิดออกเป็นพลัง

14.จิตหนึ่ง หรือจิตพุทธะ อยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นสามัญสัตว์ หรือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

15.ถ้าเราเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น "พุทธะ" ก็จะปรากฏตรงหน้าเขาเอง

16.ความคิดปรุงแต่งคือ ความไม่รู้จักสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริงแล้วเกิดความคิดในรูปต่าง ๆ เรื่อยไปด้วยความไม่รู้ผสมกับอำนาจของสิ่งแวดล้อมปรุงแต่ง

16.ปารมิตาหก(ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน และปัญญา) และวัตรปฏิบัติอื่น ๆ ไร้ความหมายเมื่อเธอสมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานทุก ๆ กรณี คือเป็นจิตหนึ่ง ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพุทธะทั้งหลาย ซึ่งถ้าโอกาสมีก็ทำมันไป แต่ถ้าไม่มีเพียงอยู่เฉย ๆ ก็พอ

ฮวงโป 3

12. ทุกสิ่งในโลกมีความจริงเป็นสัจจะอยู่อย่างเดียว คือ จิตหนึ่งหรือจิตวิมุติ พลังอันแท้จริงของจักรวาลก็คือจิตหนึ่งหรือจิตวิมุตินั่นเอง จักรวาลเกิดจากจิตหนึ่ง และจิตหนึ่งคือธาตรู้ที่แท้ของจักวาล และจิตหนึ่งหรือจิตวิมุติหรือธาตุรู้ที่แท้นี้มีอยู่ในตัวของสิ่งทั้งหลายในจักรวาลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นทุกชีวิตจึงเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีเขา ไม่มีเรา แตกแยกเป็นตัวตนโดยเฉพาะมิได้ เพราะมีธาตุเชื้อธรรมชาติเดียวกัน ดังนั้นหลักแห่งพรหมวิหาร หรือเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาจึงเป็นหลักธรรมท่สำคัญที่สุด เพราะความเป็นหนึ่งแยกจากกันมิได้นี้เองที่ชี้ชัดว่า ถ้าเราไม่เมตตาต่อผู้อื่นก็เท่ากับเรามิได้เมตตาต่อตัวเราเอง

ฮวงโป 2

7.เซ็นไม่มีตำรา ไม่มีการติดตำรา ฉีกตำราให้หมดเพราะว่ามันเป็นม่านอวิชชา ตำราเป็นเพียงรอยบันทึกของคำพูด ธรรมตัวจริงแสดงไม่ได้ด้วยคำพูด

8.ความว่างของฮวงโปมันมีอยู่ตลอดกาลนิรันดร

9.การศึกษาวิชาการไม่ว่าจะเป็นวิชาอะไร แขนงใด นักศึกษาที่แท้จริงย่อมจะต้องเป็นผู้มีใจกว้างขวาง ประกอบด้วย ฉันทะ:รักใคร่ในการงาน วิริยะ:ความพยายาม จิตตะ:ความเพ่งเล็ง วิมังสา:การวิจัย

10.เราทำงานเพื่อประโยชน์ของงาน เพื่อให้กิจการนั้นเจริญและเพื่อให้โลกงดงาม

11.ความมหัศจรรย์ต่าง ๆ ล้วนเกิดจากพลังสำคัญคือกระแสจิตวิมุติ หรือจิตหนึ่งทั้งสิ้น

ฮวงโป 1

1. เซ็น เป็นของผู้ว่างจากปัญญา และว่างจากความโง่

2.เซ็น:ญี่ปุ่น ฌาน:จีน ธยาน:สันสกฤต

3.เพ่งอารมณ์ เพื่อให้เกิดสมาธิตามแบบสมถะ
เพ่งลักษณะ เพื่อให้เกิดญาณตามแบบวิปัสสนา
แต่ไม่ใช่แบบเซ็น

4.วัตถุประสงค์แห่งเซ็นเป็นการเพิงจิตให้เข้าถึงธรรมชาติเดิมของมัน

5.เซ็นเพ่งเพียงแทรกตัวเข้าไปในธรรมชาติล้วน ๆ โดยความช่วยเหลือ หรือความบันดาลของธรรมชาติ มิใช่ปัญญาอันแสนจะเพ้อเจ้อของมนุษย์ ละโง่และฉลาดเสีย เซ็นจึงจะโพล่งตัวออกมาเองจากที่หน้าผากของผู้นั้นเอง

6.ธรรมชาติอันบริสุทธิ์หรือแท้จริง ไม่เป็นความโง่หรือความฉลาด แต่เป็นธรรมชาติแห่งความว่าง แม้นลุธรรมแล้วก็ไม่รู้สึกว่าตนเป็นคนโง่หรือฉลาด แต่อยู่กับความว่างที่ไร้ขอบเขต

เว่ยหล่าง 5

22.เมื่ออาการของจิตเริ่มขึ้น สิ่งต่าง ๆ ก็ปรากฏ

23.ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ก็ถือกำเนิดจากสันดานในกามคุณ เมื่อกำจัดความปราถนาในทางกามคุณเสียได้เราก็บรรลุธรรมกายอันบริสุทธิ์

24.ไม่เป็นทาสของวัตถุแห่งกามทั้งห้า และตระหนักถึงภาวะแท้แห่งจิต ก็จะรู้แจ้งในสัจจะ

25.จงรู้จักจิตของท่านเอง ตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะของท่านซึ่งเป็นสิ่งที่
... ไม่สงบนิ่ง และไม่เคลื่อนไหว ไม่เกิดและไม่ดับ ไม่ไปและไม่มา ไม่รับและไม่ปฏิเสธ ไม่คงอยู่และไม่จากไป ...
มิฉะนั้นจะถูกครอบงำด้วยความหลงผิด

เว่ยหล่าง 4

(21)สิ่งที่เป็นของคู่ตรงกันข้าม 36 ประการได้แก่

1.วัตถุภายนอก 5 ประการ : ฟ้า-ดิน อาทิตย์-จันทร์ แสงสว่าง-มืด ธาตุบวก-ธาตุลบ ไฟ-น้ำ

2.ธรรมลักษณะ 12 ประการ : คำพูด-ธรรม การรับ-การปฏิเสธ สาระ-ไม่เป็นสาระ รูป-ปราศจากรูป ความแปดเปื้อน-ความไม่แปดเปื้อน ความมีอยู่-ความว่างเปล่า ความเคลื่อนไหว-ความสงบนิ่ง ความบริสุทธิ์-ความมีมลทิน สามัญชน-ปราชญ์ พระสงฆ์-ฆราวาส คนแก่-คนหนุ่ม ความใหญ่-ความเล็ก

3.กิจของภาวะที่แท้แห่งจิต : ยาว-สั้น ดี-ชั่ว อวิชชา-ปัญญา โง่-ฉลาด กระวนกระวาย-สงบนิ่ง กรุณา-ชั่วช้า ศีล-ไม่มีศีล ตรง-คด เต็ม-ว่าง ชัน-ระดับ กิเลส-โพธิ ถาวร-ไม่ถาวร เมตตา-โหดร้าย สุข-ทุกข์ อ่อนโยน-หยาบช้า ไปข้างหน้า-ถอยหลัง มีอยู่-ไม่มีอยู่ ธรรมกาย-กายเนื้อ สัมโภคกาย-นิรมานกาย

เว่ยหล่าง 3

(14)ใจคือสิ่งใด พุทธะคือสิ่งนั้น

(15)พระพุทธเจ้าเกิดชึ้นมาในโลกนี้เพื่อทำให้เกิดมี "การเห็นธรรมชาติที่ทำให้ผู้เห็นได้เป็นพุทธะ" ขึ้นได้ในโลกนั้นเองคือช่วยทำให้โอกาสแก่ "พุทธภาวะ" ที่มีอยู่ในทุก ๆ คนแสดงตัวออกมา

(16)การทำบุญที่ให้เกิดความไม่มีบุญนั่นแหละคือบุญ

(17)อาการของสิ่งทั้งหลายได้รับแรงกระตุ้นมาจากภาวะที่แท้แห่งจิต

(18)การทำจิตให้เป็นอิสระจากความกระวนกระวายทั้งหลาย คือ สมาธิของสภาวะที่แท้แห่งจิต

(19)สิ่งที่ไม่เพิ่มและลด นั่นคือวัขร(ภาวะแท้แห่งจิต)

(20)ภาวะที่แท้แห่งจิตก่อกำเนิดธรรมทั้งหลาย เมื่อคิดนึกหาเหตุผลแล้วภาวะแท้แห่งจิตก็จะกลายเป็นรูปวิญญาณชนิดต่าง ๆ

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เว่ยหล่าง 2

(9) เซ็นนั้นเล็งเห็นความสำนึกบาปอันเป็นอดีต การสำนึกถึงตัวบาป และกรรมชั่วในอดีตอันเราได้ประกอบขึ้นด้วยอำนาจความรู้ผิด ความไม่รู้ ความเย่อหยิ่ง ความอวดดี ความเคียดแค้น หรือความริษยา และอื่น ๆ จนถึงกับการทำความสิ้นสุดแห่งบาป เหล่านี้เรียกว่าเซ็น

(10) การรู้แจ้ง (ตรัสรู้) [พระพุทธเจ้า] --> เป็นเครื่องนำทาง เป็นยอดสุดของบุญและบาป
ความถูกต้องตามธรรมแท้ --> เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการรื้อภอนตันหา
คความบริสุทธิ์บพระสงฆ์] --> คุณชาติอันประเสริฐสุดของการได้เกิดเป็นมนุษย์

(11) ธรรมกาย คือ สิ่งซึ่งมีความเต็มเปี่ยมอยู่ในตัวเองอย่างแท้จริง

(12) การแสดงออกซึ่งปรากฏการณ์ทุกชนิด ... คือใจ
การเป็นอิสระจากธรรมทั้งปวง ... คือพุทธะ

(13) คำสอนที่ถูกต้อง คือ ให้บำเพ็ญปัญญาคู่ไปกับสมาธิโดยไม่แยกกัน

เว่ยหล่าง 1

(1) การกรรมฐานภาวนา คือ การเห็นชัดแจ้งในภายในต่อความแน่วแน่ไม่หวั่นไหวของจิตเดิมแท้

(2) ธยานะ(ฌาน) คือ การหลุดพ้นจากการพัวพันด้วยอารมณ์ภายนอกทุกประการ

(3) สมาธิ คือ การได้รับศานติภายใน

(4) ผู้สามารถรักษาจิตตนไว้ไม่ให้ปั่นป่วน ไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมชนิดไหนหมด นั่นแหละคือการบรรลุสมาธิ

(5) จิตเดิมแท้ของเรานั้นเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง

(6) เมื่อเราอยู่ในฐานะที่จะเล่นฌาน และดำรงจิตในภายในให้ตั้งอยู่ในสมาธิเมื่อนั้นจึงเชื่อว่าเราได้ลุถึง ธยานะและสมาธิ

(7) จงฝึกมันด้วยตนเอง และบรรลุถึงพุทธภาวะ ด้วยความพยายามของตนเองเถิด

(8) เคารพผู้ที่สูงกว่า อ่อนน้อมต่อผู้ต่ำกว่า เห็นอกเห็นใจคนที่หมดวาสนา และคนยากจน