นิพพาน คือ ใจที่ปกติ สงบเย็น ไม่ไหลไปตามความพอใจ และความไม่พอใจ คนที่มีจิตใจเช่นนี้ เรียกว่า คนมีศีลธรรม
ศีล ห้า สิบ สองร้อยยี่สิบเจ็ด เป็นศีลสังคม ศีลจริง ๆ นั้นมีเพียงข้อเดียวเท่านั้นที่ต้องรักษากันจริง ๆ จัง ๆ คือ ให้รักษาใจ เป็น ศีลใจ ใครรักษาได้ก็ไม่เบียดเบียนตนเอง และเบียดเบียนผู้อื่น
วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เหนือโลก ๓๖
ยอมเสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ ยอมเสียสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ยอมเสียสละชีวิตเพื่อรักษาสัจธรรม
เหนือโลก ๓๕
สวรรค์ไม่ได้เป็นชั้น ๆ บนฟ้า สวรรค์อยู่ที่ตัวเรา ประตูนรกก็อยู่ที่ตัวเรา อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ นั่นคือ สวรรค์ นรก นิพพาน อยู่ที่ใจ สวรรค์ในอก นรกอยู่ในใจ พระนิพพานก็อยู่ที่ใจนั่นเอง
เหนือโลก ๓๔
การเข้าฌาน คือ การมีสติรู้เห็นความรู้สึกทางกาย และรู้เห็นความรู้สึกนึกคิดของจิตของใจ เมื่อมีสติอยู่อย่างนี้ความเห็นผิดย่อมไม่เกิดแก่จิตใจ จิตใจที่ปรศจากการหลงผิดนี้จะมีปัญญามองเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงนี้เองที่เรียกว่า ญาณ
ผู้มีญาณ คือผู้มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ได้กระแสพระนิพพาน ทำบุญวันนี้ได้บุญวันนี้ ทำทาน รักษาศีล เจริญกรรมฐานวิปัสสนาวันนี้ก็ต้องไดวันนี้ มิต้องคอยเอาตอนตาย ต้องเอาขณะกำลัง ทำ พูด คิด พระพุทธองค์ตรัสว่า "อดีต อนาคตไม่ต้องคำนึงถึง ให้นึกถึงเฉพาะปัจจุบัน"
ผู้มีญาณ คือผู้มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ได้กระแสพระนิพพาน ทำบุญวันนี้ได้บุญวันนี้ ทำทาน รักษาศีล เจริญกรรมฐานวิปัสสนาวันนี้ก็ต้องไดวันนี้ มิต้องคอยเอาตอนตาย ต้องเอาขณะกำลัง ทำ พูด คิด พระพุทธองค์ตรัสว่า "อดีต อนาคตไม่ต้องคำนึงถึง ให้นึกถึงเฉพาะปัจจุบัน"
วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เหนือโลก๓๓
เมื่อง่วง หรือความคิด อารมณ์ที่รุนแรงมากระทบ ให้เคลื่อนกายเร็ว ๆ แรง ๆ ให้สติชัดเจนมากขึ้น
บางครั้งต้องตั้งเจตนาเคลื่อนกายเพื่อให้สร้างสติ(ความรู้สึก)ขึ้น ขยันสร้างสติอยู่ที่กายมาก ๆ ให้สติเดิน(โคจร)ในกายเราเป็นฐานธรรมฐานแรกเป็นหลัก อย่าสนใจความคิด เวทนา แต่ถ้ามันเกิดเราก็ดูมัน รู้มัน
บางครั้งต้องตั้งเจตนาเคลื่อนกายเพื่อให้สร้างสติ(ความรู้สึก)ขึ้น ขยันสร้างสติอยู่ที่กายมาก ๆ ให้สติเดิน(โคจร)ในกายเราเป็นฐานธรรมฐานแรกเป็นหลัก อย่าสนใจความคิด เวทนา แต่ถ้ามันเกิดเราก็ดูมัน รู้มัน
เหนือโลก ๓๒
เมื่อสติสัมผัสอยู่กับกายเคลื่อนไหวไปนาน ๆ สติมากขึ้น ความคิดจะน้อยลง จะเห็นกายเคลื่อนชัดเจนขึ้น
เหนือโลก ๓๑
หลักชีวิต คือ ต้องดูกาย ดูใจ และดูความคิด
เมื่อปฏิบัติ อย่าไปสนใจความคิด ตำรา ไม่เอาตำราไปปฏิบัติ วางมันไป จงมีสติอยู่ที่กายเคลื่อนไหว ให้ยึดจุดนี้เป็นสำคัญ ทุกขเวทนา(เบื่อ เซ็ง ง่วง สงสัย คิดจุกจิกจู้จี้) อย่าให้ความสำคัญกับมันแล้วมันจะหมดค่าไป ทางของเราให้มีสติอยู่ที่กายเคลื่อนไหว
เมื่อปฏิบัติ อย่าไปสนใจความคิด ตำรา ไม่เอาตำราไปปฏิบัติ วางมันไป จงมีสติอยู่ที่กายเคลื่อนไหว ให้ยึดจุดนี้เป็นสำคัญ ทุกขเวทนา(เบื่อ เซ็ง ง่วง สงสัย คิดจุกจิกจู้จี้) อย่าให้ความสำคัญกับมันแล้วมันจะหมดค่าไป ทางของเราให้มีสติอยู่ที่กายเคลื่อนไหว
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เหนือโลก ๓0
ความสงบ มี 2 แบบ คือ 1) สงบแบบอยู่ในถ้ำ เป็นการสงบแบบไม่เห็น แบบไม่รู้จักถ้ำ
2) สงบแบบอยู่นอกถ้ำ เป็นความสงบแบบเห็นแจ้งจาก โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อเห็นแจ้งแล้วมันก็สงบ ไม่มีกิเลส เพราะเห็นกิเลส
เมื่อเราเจริญวิปัสสนาแบบถูกต้อง เมื่อมีคนพูดดีหรือชั่ว สติปัญญาเราจะไวสุด มันจะทำหน้าที่แทนเรา
คนเราถ้าไม่มีสติปัญญาแล้วก็จะทำไปตามอารมณ์วูบเดียวเท่านั้น ผิดไปเลย เมื่อผิดแล้วมันแก้ไขได้ยากหรือแก้ไขไม่ได้เลยก็มี
ถ้าหากคนเรารู้จักว่าตัวเอง ทำผิด-รับฟัง-แก้ไข ตัวเอง เออ!อันนั้นท่านเรียกว่า"บัณฑิต"
2) สงบแบบอยู่นอกถ้ำ เป็นความสงบแบบเห็นแจ้งจาก โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อเห็นแจ้งแล้วมันก็สงบ ไม่มีกิเลส เพราะเห็นกิเลส
เมื่อเราเจริญวิปัสสนาแบบถูกต้อง เมื่อมีคนพูดดีหรือชั่ว สติปัญญาเราจะไวสุด มันจะทำหน้าที่แทนเรา
คนเราถ้าไม่มีสติปัญญาแล้วก็จะทำไปตามอารมณ์วูบเดียวเท่านั้น ผิดไปเลย เมื่อผิดแล้วมันแก้ไขได้ยากหรือแก้ไขไม่ได้เลยก็มี
ถ้าหากคนเรารู้จักว่าตัวเอง ทำผิด-รับฟัง-แก้ไข ตัวเอง เออ!อันนั้นท่านเรียกว่า"บัณฑิต"
เหนือโลก ๒๙
วิปัสสนา ก็เพียงเป็นคำพูดคำขาน เป็นภาษาบาลี หรือภาษาธรรม ภาษาบ้านเราคือ "การเห็นแจ้ง"(ตัวเราว่า กำลัง พูด ทำ คิด) แล้วมันก็ต่างเก่า(เดิมไม่เห็น ไม่เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้)ล่วงภาวะเดิม(เลิกจากสิ่งชั่วร้ายเพราะความหลงผิด)
เหนือโลก ๒๘
ความจริงแล้ว โกรธ โลภ หลง มันไม่ได้มีอยู่ในตัวเรา มันเพียง วูบ เข้ามาประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ... คล้าย ๆ น้ำแข็ง ... มันเป็นก้อนแต่ไม่ทน ถูกแดดลมก็ละลายเป็นน้ำเหมือนเดิม โกรธ โลภ หลง ตั้งไม่ได้นาน เพียงวูบเดียว ... เมื่อเราไม่เห็นความที่มันเป็น มันเกิด เรียกว่ามันตบหน้า(ครอบงำ)เรา โกรธ โลภ หลง มันเกิดขึ้นวูบเดียวเท่านั้นเราก็คล้อยตามมัน(มันตบหน้า ๆๆๆ อย่างซ้ำซาก) ... เราต้องเห็นมัน เข้าใจมัน เราต้อง รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ เอาชนะมันให้ได้จริง ๆ
คนเราถ้าไม่กลับมาดูตัวเอง มันก็ลืมตัว หลงตัว มัวแต่ไปดูคนอื่น กลายเป็นคนมีกิเลส มีอาสวะ
คนเราถ้าไม่กลับมาดูตัวเอง มันก็ลืมตัว หลงตัว มัวแต่ไปดูคนอื่น กลายเป็นคนมีกิเลส มีอาสวะ
เหนือโลก ๒๗
ใจ(จิตแท้)ทุกคน
สะอาด(ไม่สกปรก) สว่าง(เห็นแจ้ง เห็นชีวิตจิตใจเรานี้แหละ) สงบ(พอแล้ว หยุดแล้ว ไม่ไปศึกษาอะไรอีกแล้ว เพราะว่ามันมีเท่านี้)
การทำให้คนไม่มีทุกข์นั้นเราต้องเห็นอยู่ที่นี่
พระพุทธเจ้าสอนว่า ... การที่เรายังไม่เห็นจิตเห็นใจเรานั้นเปรียบเสมือนกับการที่เมฆ หรือฟ้ามาบังแสงตะวันเอาไว้ ความสว่างของดวงตะวันจึงไม่ส่องมาให้เราเห็นพื้นโลกได้
ขณะใดที่ไม่เห็นจิต เห็นใจ เห็นชีวิต ขณะนันจะเป็น "คนที่ไม่มีสติ" หรือมีกิเลสมาก
สะอาด(ไม่สกปรก) สว่าง(เห็นแจ้ง เห็นชีวิตจิตใจเรานี้แหละ) สงบ(พอแล้ว หยุดแล้ว ไม่ไปศึกษาอะไรอีกแล้ว เพราะว่ามันมีเท่านี้)
การทำให้คนไม่มีทุกข์นั้นเราต้องเห็นอยู่ที่นี่
พระพุทธเจ้าสอนว่า ... การที่เรายังไม่เห็นจิตเห็นใจเรานั้นเปรียบเสมือนกับการที่เมฆ หรือฟ้ามาบังแสงตะวันเอาไว้ ความสว่างของดวงตะวันจึงไม่ส่องมาให้เราเห็นพื้นโลกได้
ขณะใดที่ไม่เห็นจิต เห็นใจ เห็นชีวิต ขณะนันจะเป็น "คนที่ไม่มีสติ" หรือมีกิเลสมาก
เหนือโลก ๒๖
พระพุทธเจ้าไปปฏิบัติธรรม ... แสดงว่าธรรมมันมีก่อนพระพุทธเจ้า
คนเราเกิดมามันก็ต้องมีกาย มีจิต อันจิตอันใจเรานี้แหละมันมีอยู่ก่อนแล้ว
ตัวเองไม่เคยดู ไปดู ดี-ชั่วของคนอื่น จึงไม่เห็นตัวเอง บางคนหลุดจากท้องแม่มาอายุเก้าสิบปี หรือร้อยปีก็มีจึงตาย แต่ไม่เคยดูรูป ดูนาม ดูจิต ดูใจ ตัวเองสักที ตายทิ้งไป ไม่มีประโยชน์อันใดเลยกับการเกิดเป็นคน ... "ขาดทุนในการเกิดเป็นคน" บางคนก็ทันได้ดูทีหนึ่งสองทีแล้วตายไปก็มี
พยายามดูจิต ดูใจของเรา ถ้าได้เห็นจิตใจเราที่มันกำลังนึก กำลังคิด แม้ว่าจะเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะทำให้มีกำลังความสามารถที่จะไปทำความสว่างภายในจิตใจเรา ไล่ความมืด(ไม่เห็นจิตใจเราเอง)ออกไป ไล่ความหลงผิดไปได้
คนเราเกิดมามันก็ต้องมีกาย มีจิต อันจิตอันใจเรานี้แหละมันมีอยู่ก่อนแล้ว
ตัวเองไม่เคยดู ไปดู ดี-ชั่วของคนอื่น จึงไม่เห็นตัวเอง บางคนหลุดจากท้องแม่มาอายุเก้าสิบปี หรือร้อยปีก็มีจึงตาย แต่ไม่เคยดูรูป ดูนาม ดูจิต ดูใจ ตัวเองสักที ตายทิ้งไป ไม่มีประโยชน์อันใดเลยกับการเกิดเป็นคน ... "ขาดทุนในการเกิดเป็นคน" บางคนก็ทันได้ดูทีหนึ่งสองทีแล้วตายไปก็มี
พยายามดูจิต ดูใจของเรา ถ้าได้เห็นจิตใจเราที่มันกำลังนึก กำลังคิด แม้ว่าจะเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะทำให้มีกำลังความสามารถที่จะไปทำความสว่างภายในจิตใจเรา ไล่ความมืด(ไม่เห็นจิตใจเราเอง)ออกไป ไล่ความหลงผิดไปได้
วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เหนือโลก ๒๕
ถ้าเห็นส่วนรูปนามภายนอกนี้ เรียกว่า เห็นธรรมส่วนเปลือก
เห็นเรามีสติ กำลัง ทำ พูด คิด เรียกว่าเห็นส่วนลึกเข้าไป
เห็นส่วนที่มันกำลังนึก กำลังคิด ขึ้นมา เราเห็น เรารู้ เราเข้าใจ ... เห็นส่วนลึกเข้าไปอีก
เมื่อเราเห็นอย่างนี้แหละ คือ กำลังทำ พูด คิด เราเห็น ถ้ามันเป็นความชั่วเราก็ต้องเอาชนะ ไม่ทำ ทางกาย วาจา ใจ ไปตามความคิดฝ่ายต่ำที่ชั่ว ๆ นั้น
ความคิดฝ่ายต่ำเข้ามา สติ สกัด เห็นตัวเรา กำลังจะโกรธ เรารู้จักว่าตัวเราจะโกรธเราก็ไม่ต้องโกรธ เมื่อเห็นความคิด มันจะหยุด
เห็นเรามีสติ กำลัง ทำ พูด คิด เรียกว่าเห็นส่วนลึกเข้าไป
เห็นส่วนที่มันกำลังนึก กำลังคิด ขึ้นมา เราเห็น เรารู้ เราเข้าใจ ... เห็นส่วนลึกเข้าไปอีก
เมื่อเราเห็นอย่างนี้แหละ คือ กำลังทำ พูด คิด เราเห็น ถ้ามันเป็นความชั่วเราก็ต้องเอาชนะ ไม่ทำ ทางกาย วาจา ใจ ไปตามความคิดฝ่ายต่ำที่ชั่ว ๆ นั้น
ความคิดฝ่ายต่ำเข้ามา สติ สกัด เห็นตัวเรา กำลังจะโกรธ เรารู้จักว่าตัวเราจะโกรธเราก็ไม่ต้องโกรธ เมื่อเห็นความคิด มันจะหยุด
เหนือโลก ๒๔
การเห็นธรรมด้วยสติปัญญาจากการวิปัสสนาจริง ๆ มันต้อง เห็นรูป(กาย)-เห็นนาม(ใจคิด) รู้จักรูป-รู้จักนาม เห็นตัวเราจริง ๆ ลืมตาดูก็เห็นจริง ๆ ในขณะที่เรากำลังทำ พูด คิด ทำงานต่าง ๆ เราเห็น ... เรียกว่าเห็น(ด้วยสติปัญญา)ธรรม(ทำ) เห็นแล้วต้องไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
เห็นตัวเราเอง นั่นแหละ คือเห็นธรรม
เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้มันเป็นกิเลส
ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า อันนั้น...เห็นธรรม ได้ญาณนั้นญาณนี้... มันเป็นเรื่องของคนที่ยังไม่ใจ คิดเอาเฉย ๆ มิใช่ความจริง
ของจริงนั้นต้องเห็นตัวเราจริง ๆ เราจะนั่งก็เห็น นอนก็เห็น เดิน-เห็น ไปไหนมาไหน-เห็น เรียกว่าเห็นธรรมจริง ๆ
จงดูจิต ดูใจ แม้นจะเล็ก ๆ น้อย ๆ
เห็นตัวเราเอง นั่นแหละ คือเห็นธรรม
เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้มันเป็นกิเลส
ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า อันนั้น...เห็นธรรม ได้ญาณนั้นญาณนี้... มันเป็นเรื่องของคนที่ยังไม่ใจ คิดเอาเฉย ๆ มิใช่ความจริง
ของจริงนั้นต้องเห็นตัวเราจริง ๆ เราจะนั่งก็เห็น นอนก็เห็น เดิน-เห็น ไปไหนมาไหน-เห็น เรียกว่าเห็นธรรมจริง ๆ
จงดูจิต ดูใจ แม้นจะเล็ก ๆ น้อย ๆ
เหนือโลก ๒๓
การปฏิบัติธรรมเพื่อการเห็นธรรมนั้น บางคนต้องนั่ง หรือนอน หลับตา พิจารณาเห็น สี แสง ผี เทวดา นรก สวรรค์ เปรต สัตว์นรก ไปอย่างนั้น ... การเห็นอย่างนั้นเป็นการเห็นด้วยความเพ้อฝันไป นึกคิดไป ... ไม่ถกต้องตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าเพราะว่าเมื่อลืมาแล้วไม่เห็น อันนั้นเรียกว่าเป็นกิเลส เพราะว่าเราไม่เห็นความคิดของเรา มันนึกคิดมาเราไม่เห็นปล่อยให้กิเลสมาหลอกลวง
หรือกิเลสตบหน้าเราก็ได้ มันมิใช่การเห็นธรรม
หรือกิเลสตบหน้าเราก็ได้ มันมิใช่การเห็นธรรม
เหนือโลก๒๒
พูดให้ฟังมิใช่สอน เพียงแนะวิธีปฏิบัติให้แล้วไปทำเอง
ขอให้พวกเราทั้งหลายหันเข้ามามองลงไปที่จิตใจที่มันนึก มันคิด ให้เห็น ให้รู้ ให้เข้าใจ อย่าเข้าไปเกาะความคิด เมื่อเห็นความคิดแล้ว ความคิดมันจะขาดสูญไปเหมือนแมวกับหนู ขณะที่หนูมันโตแต่แมวยังตัวเล็กมันจึงจับหนูไม่ได้ เราก็หมั่นเอาข้า เอาอาหารให้แมวกิน คือเจริญสติให้มากมันจะได้โตและมีกำลัง เมื่อหนูเห็นมันต้องตายทันที
ตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญา ที่มีกำลัง มันจะทำลาย โทสะ โมหะ โลภะ อย่างแน่นอน!
ขอให้พวกเราทั้งหลายหันเข้ามามองลงไปที่จิตใจที่มันนึก มันคิด ให้เห็น ให้รู้ ให้เข้าใจ อย่าเข้าไปเกาะความคิด เมื่อเห็นความคิดแล้ว ความคิดมันจะขาดสูญไปเหมือนแมวกับหนู ขณะที่หนูมันโตแต่แมวยังตัวเล็กมันจึงจับหนูไม่ได้ เราก็หมั่นเอาข้า เอาอาหารให้แมวกิน คือเจริญสติให้มากมันจะได้โตและมีกำลัง เมื่อหนูเห็นมันต้องตายทันที
ตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญา ที่มีกำลัง มันจะทำลาย โทสะ โมหะ โลภะ อย่างแน่นอน!
เหนือโลก๒๑
นิพพาน คือ ความปกติสงบเย็น คือ ความสะอาด สะว่าง และสงบ จิตใจไม่คลุกคลี จิตใจเฉย ๆ ชีวิตเฉย ๆ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ตัวนิพพานคือตัวจิตใจที่มันสงบอยู่ ตื่นอยู่(น้ำไหลนิ่ง) ... นิพพานมันไม่ทุกข์ หรือสุข ฉะนั้นจึงเหนือทุกข์ เหนือสุข
คนมันอยากสนุกจึงไม่ชอบนิพพาน จึงตกเข้าสู่วงจรอุบาทว์ คือ สนุก ทุกข์ สนุก ทุกข์ ... เรื่อยไปไม่สิ้นสุดเป็นวัฏฏสงสาร
สุข...ไม่เอา ทกข์...ไม่เอา ผล คือสบายใจ(ปกติ อุเบกขา)
ที่สุดของทุกข์คือเราต้องดูความคิด
คนมันอยากสนุกจึงไม่ชอบนิพพาน จึงตกเข้าสู่วงจรอุบาทว์ คือ สนุก ทุกข์ สนุก ทุกข์ ... เรื่อยไปไม่สิ้นสุดเป็นวัฏฏสงสาร
สุข...ไม่เอา ทกข์...ไม่เอา ผล คือสบายใจ(ปกติ อุเบกขา)
ที่สุดของทุกข์คือเราต้องดูความคิด
เหนือโลก๒0
ทาน เป็นอุบาย เพื่อให้โกรธ โลภ มันหาย
พระพุทธเจ้าสอนว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" แต่เดี๋ยวนี้เราไม่ได้พึ่งตนเอจึงไม่มีที่จะให้พึ่ง เมื่อไม่มีที่จะให้พึ่ได้แล้วก็เดินเสาะแสวงหาที่พึ่ง มีอะไรก็เกาะไป ติดไป เท่านั้นเอง
พระพุทธเจ้าสอนว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" แต่เดี๋ยวนี้เราไม่ได้พึ่งตนเอจึงไม่มีที่จะให้พึ่ง เมื่อไม่มีที่จะให้พึ่ได้แล้วก็เดินเสาะแสวงหาที่พึ่ง มีอะไรก็เกาะไป ติดไป เท่านั้นเอง
เหนือโลก ๑๙
อาตมา(หลวงพ่อเทียน จิตสุโภ) กล้ารับรองได้ว่า ทุกคนที่ปฏิบัติเจริญสติแบบนี้(สติแบบเคลื่อนไหว-รู้สึก)ให้ถูกต้อง และต่อเนื่องอย่างนานไม่เกิน 3 ปี อย่างกลาง 1 ปี อย่างเร็วสุด 7 หรือ 90 วัน ... จะเข้าใจซาบซึ้งในหลักพุทธศาสนาจริง ๆ
พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
ธรรม คือ การกระทำ (เคลื่อน) การกระทำลงไปนั่นแหละเรียกว่าธรรม
ความรู้ของคนมี 4 ระดับ คือ รู้จัก - รู้จำ (จากตำรับ ตำรา ครูบาอาจารย์ บอก สอน ) และ รู้แจ้ง-รู้จริง (เป็นความรู้ของเราจริง ๆ ที่เรียกว่าสันทิฏฐิโก เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นอกาลิโกที่ไม่ขึ้นกับเวลา เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิซึ่งรู้ได้เฉพาะตน
พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
ธรรม คือ การกระทำ (เคลื่อน) การกระทำลงไปนั่นแหละเรียกว่าธรรม
ความรู้ของคนมี 4 ระดับ คือ รู้จัก - รู้จำ (จากตำรับ ตำรา ครูบาอาจารย์ บอก สอน ) และ รู้แจ้ง-รู้จริง (เป็นความรู้ของเราจริง ๆ ที่เรียกว่าสันทิฏฐิโก เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นอกาลิโกที่ไม่ขึ้นกับเวลา เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิซึ่งรู้ได้เฉพาะตน
เหนือโลก ๑๘
รู้สึกตัว-ตื่นตัว รู้สึกใจ-ตื่นใจ (ตัวสติ)
มีสติกำหนดรู้ในอริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน พร้อมทั้งอิริยาบถย่อย คือ คู้ เหยียด เคลื่อนไหว โดยวิธีใดก็ให้มีสติเข้าไปกำหนดรู้
คนที่มีทิฐฐิมากบอกไม่ได้ว่าไม่ฟัง ท่านเรียกว่า คนตายแล้ว
ผิดหรือถูกต้องพิจารณาดู ทำตามดู มันจะจริงหรือไม่จริงเราต้องพิจารณาดู
พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เพราะกระทำทางจิตทางใจ
จิตใจเรานี้ซิมันยังเน่าเหม็นเปียกแฉะ มันโกรธขึ้นมามันเน่าเปียกแฉะ มันเหม็นยิ่งกว่าอจจาระเหม็นด้วยซ้ำ
ขณะโกรธ "มึงไม่รู้จักกูรึ? อย่าเข้ามาใกล้กูนะ ดูมึงเห็นเท่าหิ่งห้อย (จิตใจเน่าเหม็น จิตใจหมา พูดเหมือนไม่เห็นคน ดูคนไม่เป็น) เดี๋ยวเถอะมึงเป็นหมา (คนพูดนั่นแหละหมา) ... ตัวคนยังเป็นคนแต่ใจหมา มันเกิดขึ้นเดี๋ยวนั้นเลย
มีสติกำหนดรู้ในอริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน พร้อมทั้งอิริยาบถย่อย คือ คู้ เหยียด เคลื่อนไหว โดยวิธีใดก็ให้มีสติเข้าไปกำหนดรู้
คนที่มีทิฐฐิมากบอกไม่ได้ว่าไม่ฟัง ท่านเรียกว่า คนตายแล้ว
ผิดหรือถูกต้องพิจารณาดู ทำตามดู มันจะจริงหรือไม่จริงเราต้องพิจารณาดู
พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เพราะกระทำทางจิตทางใจ
จิตใจเรานี้ซิมันยังเน่าเหม็นเปียกแฉะ มันโกรธขึ้นมามันเน่าเปียกแฉะ มันเหม็นยิ่งกว่าอจจาระเหม็นด้วยซ้ำ
ขณะโกรธ "มึงไม่รู้จักกูรึ? อย่าเข้ามาใกล้กูนะ ดูมึงเห็นเท่าหิ่งห้อย (จิตใจเน่าเหม็น จิตใจหมา พูดเหมือนไม่เห็นคน ดูคนไม่เป็น) เดี๋ยวเถอะมึงเป็นหมา (คนพูดนั่นแหละหมา) ... ตัวคนยังเป็นคนแต่ใจหมา มันเกิดขึ้นเดี๋ยวนั้นเลย
เหนือโลก๑๗
การศึกษาเล่าเรียน การทำบุญให้ทาน การรักษาศีล การทำสมถกรรมฐาน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีเป้าหมายเพื่อการเห็นจิตตน ซึ่งต้องใช้สติ(เปรียบเสมือนแมว) เพื่อขจัดกิเลสหรือความลักคิด(เปรียบเสมือนหนู) เมื่อสำเร็จ ก็จะเข้าสู่ความว่าง (วิมุตติ เซ็น ฌาน จิตเดิมแท้ จิตหนึ่ง อุเบกขาจิต ธรรมธาตุ นิพพาน)
เหนือโลก ๑๖
การทำบุญให้ทานรักษาศีล เปรียบเสมือนข้าวเปลือก...คนกินไม่ได้
การทำความสงบ ทำสมถกรรมฐาน...เปรียบเสมือนข้าวสาร ... คนกินยังไม่ได้
การทำความสงบแบบวิปัสสนากรรมฐาน ... สงบจาก โลภะ โทสะ และโมหะ
ถึงแม้นท่านจะ ไม่ได้ทำบุญ ไม่ได้ให้ทาน ไม่ได้รักษาศีล ไม่ได้เจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ได้เจริญสมถกรรมฐาน ก็ตาม แต่มาจับจุดนี้(เคลื่อนกาย-รู้สึก) มันเสร็จไปทั้งหมด เหมือนฟ้าคลุมดิน กินความครอบทั้งหมด ไม่ต้องเรียนพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม แต่มาทำความรู้สึกตัวที่จุดนี้เลยเมื่อเข้าถึงได้แล้วก็รู้จักเหมือนกัน
การทำความสงบ ทำสมถกรรมฐาน...เปรียบเสมือนข้าวสาร ... คนกินยังไม่ได้
การทำความสงบแบบวิปัสสนากรรมฐาน ... สงบจาก โลภะ โทสะ และโมหะ
ถึงแม้นท่านจะ ไม่ได้ทำบุญ ไม่ได้ให้ทาน ไม่ได้รักษาศีล ไม่ได้เจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ได้เจริญสมถกรรมฐาน ก็ตาม แต่มาจับจุดนี้(เคลื่อนกาย-รู้สึก) มันเสร็จไปทั้งหมด เหมือนฟ้าคลุมดิน กินความครอบทั้งหมด ไม่ต้องเรียนพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม แต่มาทำความรู้สึกตัวที่จุดนี้เลยเมื่อเข้าถึงได้แล้วก็รู้จักเหมือนกัน
เหนือโลก๑๕
สติ คือ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว เป็นธรรมะที่มีอุปการะมาก
การทำความรู้สึกด้วยการ กำมือ-เหยียดมือ เป็นสิ่งที่มีอานิสงส์มาก มีค่ามีคุณมาก เปรียบออกมาเป็นเงินไม่ได้ จึงมีการเปรียบเทียบว่า "จะเอาเงินซื้อไม่ได้ แม้นจะมีเงินล้านหนึ่ง สิบล้าน ร้อยล้าน หรือมีกองท่วมหัว ก็เอาซื้อไม่ได้" มันเป็นวิธีที่เราองปฏิบัติเอาเอง ให้มันโพลตัวขึ้นมาเอง ... เพราะมันมีอยู่แล้ว
การทำความรู้สึกด้วยการ กำมือ-เหยียดมือ เป็นสิ่งที่มีอานิสงส์มาก มีค่ามีคุณมาก เปรียบออกมาเป็นเงินไม่ได้ จึงมีการเปรียบเทียบว่า "จะเอาเงินซื้อไม่ได้ แม้นจะมีเงินล้านหนึ่ง สิบล้าน ร้อยล้าน หรือมีกองท่วมหัว ก็เอาซื้อไม่ได้" มันเป็นวิธีที่เราองปฏิบัติเอาเอง ให้มันโพลตัวขึ้นมาเอง ... เพราะมันมีอยู่แล้ว
เหนือโลก ๑๔
สติเป็นข้าศึกกับตัวความหลง มันจะไปฆ่าความหลง ฆ่าโทสะ ฆ่าโลภะ
ศีล แปลว่า ปกติ จิตใจปกตินั่นแหละเรียกว่า ศีล
ดูความคิด ดูไป ดูไป ดูไป ๆๆๆ ...
รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ เอาชนะความคิดให้ได้ทุกครั้ง
เจริญสติให้มากขึ้น ๆ ๆ ๆ เมื่อมันไวเข้า จะสามารถ ดัก สกัด ตัวกิเลสได้ทุกคราว แล้วมันจะโพลงตัวของมันขึ้นมาเอง คำว่าโพลงตัวเราไม่รู้จัก วิธีโพลงตัว:ความคิดยิ่งเร็ว สติปัญญาก็ยิ่งเร็ว ถ้าตัวความคิดยิ่งลึกอารมณ์ยิ่งลึกสติปัญญาก็ยิ่งลึก ถ้าวันใดขณะใดทั้งสองอย่างนี้ยิ่งลึกเท่ากัน แล้วกระทบกัน แตก-โพล๊ะ-ออกมาเลยเรียกว่า โพลงตัวออกมา(ความปรากฏ) ทำให้ผู้ปฏิบัติพบ "สิ่งนี้"
... มันมีอยู่แล้วในคนทุกคน มันเป็นเพียงธาตุชนิดหนึ่งเป็นธรรมธาตุ
ศีล แปลว่า ปกติ จิตใจปกตินั่นแหละเรียกว่า ศีล
ดูความคิด ดูไป ดูไป ดูไป ๆๆๆ ...
รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ เอาชนะความคิดให้ได้ทุกครั้ง
เจริญสติให้มากขึ้น ๆ ๆ ๆ เมื่อมันไวเข้า จะสามารถ ดัก สกัด ตัวกิเลสได้ทุกคราว แล้วมันจะโพลงตัวของมันขึ้นมาเอง คำว่าโพลงตัวเราไม่รู้จัก วิธีโพลงตัว:ความคิดยิ่งเร็ว สติปัญญาก็ยิ่งเร็ว ถ้าตัวความคิดยิ่งลึกอารมณ์ยิ่งลึกสติปัญญาก็ยิ่งลึก ถ้าวันใดขณะใดทั้งสองอย่างนี้ยิ่งลึกเท่ากัน แล้วกระทบกัน แตก-โพล๊ะ-ออกมาเลยเรียกว่า โพลงตัวออกมา(ความปรากฏ) ทำให้ผู้ปฏิบัติพบ "สิ่งนี้"
... มันมีอยู่แล้วในคนทุกคน มันเป็นเพียงธาตุชนิดหนึ่งเป็นธรรมธาตุ
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เหนือโลก ๑๓
ถ้าตัวสติไม่มีคุมตัวเราอยู่ในขณะใด เราหลง ความหลงเข้ามา ( หลง-มีโอกาสหาพบ ลืม-ไม่มีโอกาสหาพบ)
หลง ลืม ในสิ่ง "สมมุติ" (หลงรูป หลงนาม )
... บางครั้งมีคนมาว่าเรา เราฟังสิ่งที่ไม่พอใจมันมากระทบปุ๊บ ตัวสติเข้ามาปั๊บ เสมือนหนูเข้ามาแมวตะปบทันที นั่นคือสติเข้าคุมทันที เมื่อเห็นชีวิตจิตใจแล้วตัวหลงจะหายไป ... เป็นการจัดการ โลภ โกรธ หลง มันจะคิดอย่างไรปล่อยมัน(มันคิด เราจะรู้ลักษณะของความคิด) อย่าห้าม แต่ให้ดูมัน อย่างเข้าไปในมัน ให้เรารู้เท่า รู้ทัน รู้กัน และรู้แก้
คนที่เห็นความคิดของตัวเอง... การจะเห็นมิใช่ไปนั่งหลับตา เพ่งเห็น แสง ผี เทวดา นรก สวรรค์ อันนั้นมันเป็นความหลงอยู่ในความคิดออกจากความคิดไม่ได้ ดับทุกข์ไม่ได้ ต้องลืมตา ทำการทำงานได้ ไปไหนมาไหนได้ มองเห็น ไม่ต้องหลับตา
หลง ลืม ในสิ่ง "สมมุติ" (หลงรูป หลงนาม )
... บางครั้งมีคนมาว่าเรา เราฟังสิ่งที่ไม่พอใจมันมากระทบปุ๊บ ตัวสติเข้ามาปั๊บ เสมือนหนูเข้ามาแมวตะปบทันที นั่นคือสติเข้าคุมทันที เมื่อเห็นชีวิตจิตใจแล้วตัวหลงจะหายไป ... เป็นการจัดการ โลภ โกรธ หลง มันจะคิดอย่างไรปล่อยมัน(มันคิด เราจะรู้ลักษณะของความคิด) อย่าห้าม แต่ให้ดูมัน อย่างเข้าไปในมัน ให้เรารู้เท่า รู้ทัน รู้กัน และรู้แก้
คนที่เห็นความคิดของตัวเอง... การจะเห็นมิใช่ไปนั่งหลับตา เพ่งเห็น แสง ผี เทวดา นรก สวรรค์ อันนั้นมันเป็นความหลงอยู่ในความคิดออกจากความคิดไม่ได้ ดับทุกข์ไม่ได้ ต้องลืมตา ทำการทำงานได้ ไปไหนมาไหนได้ มองเห็น ไม่ต้องหลับตา
เหนือโลก ๑๒
มรรค เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ นั่นคือ เราเอาสติมาคอยดูความคิดนี่เอง คือข้อปฏิบัติ ทำงานไปตามหน้าที่แต่ต้องใช้สติคอยกำกับ มีสติ ๆๆๆ ... ดูจิต ดูใจ ๆๆๆ ... เพื่อสกัดความหลง เมื่อสติมั่นคง มันก็ไร้ทุกข์ อยู่กับปัจจุบันขณะ หรือรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา
เหนือโลก๑๑
ถึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธรรมะมันก็มีอยู่แล้ว (คนคือธรรมะ ธรรมะคือคน) เมื่อเห็นสมมุติ ก็เลิกไหว้ผี ไหว้เทวดา ไหว้อะไรต่าง ๆ (งมงาย) ที่เคยไหว้ ... เลิก มันไม่มีสิ่งใดที่จะมาบันดาลอะไรให้เราได้ นอกจากตัวเราเองแต่ผู้เดียว
หมดทุกข์ หมดงมงาย ไม่เชื่อ ผี เทวดา ฤกษ์ ทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวเรา แสดงว่า เราเห็น เรารู้ เราเข้าใจ จริง ๆ
โมหะจะไม่มีเมื่อมีสติ โลภะ โทสะ โมหะ ความจริงแล้ว มันไม่มี เพราะจิตเดิมแท้ มันไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ไป-ไม่มา ไม่สั้น-ไม่ยาว ฯลฯ
หมดทุกข์ หมดงมงาย ไม่เชื่อ ผี เทวดา ฤกษ์ ทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวเรา แสดงว่า เราเห็น เรารู้ เราเข้าใจ จริง ๆ
โมหะจะไม่มีเมื่อมีสติ โลภะ โทสะ โมหะ ความจริงแล้ว มันไม่มี เพราะจิตเดิมแท้ มันไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ไป-ไม่มา ไม่สั้น-ไม่ยาว ฯลฯ
เหนือโลก ๑0
วิธีเจริญสติ
ให้ทำความรู้สึกตัว แล้วความไม่รู้สึกตัวจะหายไปเอง
การทำความรู้สึกตัว :
@ พลิกมือขึ้น
@ คว่ำมือลง
@ ยกมือไป
@ เอามือมา
@ เดินหน้า
@ ถอย
@ เอียงซ้าย
@ เอียงขวา
@ ก้ม
@ เงย
@ กะพริบตา
@ อ้าปาก
@ หายใจเข้า
@ หายใจออก
@ กลืนน้ำลายผ่านลงไปในลำคอ
@ คู้
@ เหยียด
@ เคลื่อนไหว
ฯลฯ
.... เหล่านี้ให้ทำความรู้สึก เมื่อมีความรูสึก ความไม่รู้สึก(ภาษาบ้านเรียกว่า "หลง" ภาษาธรรมะ เรียก "โมหะ")จะหายไป เมื่อมีความรู้สึกอยู่นั้นเรียกว่ามีสติ เมื่อทำความรู้สึกอย่างนี้อยู่ก็เรียกว่าเป็นการเจริญสติ คำว่าเจริญ นั้นหมายถึงการทำบ่อย ๆ "เจริญสติ" ก็คือให้รู้สึกบ่อย ๆ จะเคลื่อนไหวโดยวิธีใดก็ให้มีความรู้สึก จะเกิดปัญญาชนิดหนึ่งขึ้นในจิตใจเรา เรียกว่า "ความรู้แจ้ง - รู้จริง" ตามสภาวธรรมที่เป็นจริง การเห็นตัวเราตามสภาวะที่เป็นจริงนั้นเรียกว่า " เห็นธรรม รู้ธรรม และเข้าใจธรรม"
ให้ทำความรู้สึกตัว แล้วความไม่รู้สึกตัวจะหายไปเอง
การทำความรู้สึกตัว :
@ พลิกมือขึ้น
@ คว่ำมือลง
@ ยกมือไป
@ เอามือมา
@ เดินหน้า
@ ถอย
@ เอียงซ้าย
@ เอียงขวา
@ ก้ม
@ เงย
@ กะพริบตา
@ อ้าปาก
@ หายใจเข้า
@ หายใจออก
@ กลืนน้ำลายผ่านลงไปในลำคอ
@ คู้
@ เหยียด
@ เคลื่อนไหว
ฯลฯ
.... เหล่านี้ให้ทำความรู้สึก เมื่อมีความรูสึก ความไม่รู้สึก(ภาษาบ้านเรียกว่า "หลง" ภาษาธรรมะ เรียก "โมหะ")จะหายไป เมื่อมีความรู้สึกอยู่นั้นเรียกว่ามีสติ เมื่อทำความรู้สึกอย่างนี้อยู่ก็เรียกว่าเป็นการเจริญสติ คำว่าเจริญ นั้นหมายถึงการทำบ่อย ๆ "เจริญสติ" ก็คือให้รู้สึกบ่อย ๆ จะเคลื่อนไหวโดยวิธีใดก็ให้มีความรู้สึก จะเกิดปัญญาชนิดหนึ่งขึ้นในจิตใจเรา เรียกว่า "ความรู้แจ้ง - รู้จริง" ตามสภาวธรรมที่เป็นจริง การเห็นตัวเราตามสภาวะที่เป็นจริงนั้นเรียกว่า " เห็นธรรม รู้ธรรม และเข้าใจธรรม"
เหนือโลก ๙
ตัวรู้ หรือ พุทธะ นั้นมันมีอยู่แล้วในคนทุกคน สภาวะจิตใจที่เป็นอุเบกขามันมีอยู่แล้วในคนทุกคน จิต เฉย ๆ ไม่ โลภ โกรธ หลง เป็นลักษณะของนิพพาน จะรู้ได้ เห็นได้ เข้าใจได้ หากตั้งใจ ไม่จำกัดว่า ต้องเป็นผู้ใหญ่ เด็ก หญิง ชาย เรียนสูง เรียนต่ำ รวย จน
เหนือโลก ๘
การเอาสติมาดูความคิด ดูจิต ดูใจนี้แหละท่านเรียกว่า "ภาวนา" ทำให้เจริญ ทำบ่อย ๆ ทำให้มาก อย่าเกียจคร้าน อย่าเห็นแก่เล่น กิน นอน คุย
คนโดยมากมักรู้คิด แต่ "ไม่เห็นความคิด" ของตน จบปริญญา โท เอก เปรียญ 9 ก็ไม่รู้ เพราะไม่เคยดูตัวเอง ไม่เจริญภาวนา
คนโดยมากมักรู้คิด แต่ "ไม่เห็นความคิด" ของตน จบปริญญา โท เอก เปรียญ 9 ก็ไม่รู้ เพราะไม่เคยดูตัวเอง ไม่เจริญภาวนา
เหนือโลก ๗
การเจริญ(ทำให้มาก มิใช่พูดเอา))สติ จนรู้ธรรม เห็นธรรม เห็น กำลังทำ กำลังพูด และกำลังคิด
ปรมัตถ์ คือ ของจริง ปรมัตถ์บัญญัติคือกำลัง ทำ พูด คิด
ดูจิต ดูใจ ให้เห็นจริง ๆ ... มันนึกคิดขึ้นมาก็รู้ว่า " โอ! ... ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว นึกคิดอยากไปโน่นนี่...โอ!ทุกข์เกิด
นึกคิดคราวใด...โอ!ทุกข์ เราต้องดูจิตดูใจตนเอง
พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "มีแต่ทุกข์เท่านั้นเกิด มีแต่ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นดับ"
เนื้อนาบุญของโลก คือ ผู้ใดมาหาเราต้องสอนเขา สอนจริง ๆ สอนของจริง
ปรมัตถ์ คือ ของจริง ปรมัตถ์บัญญัติคือกำลัง ทำ พูด คิด
ดูจิต ดูใจ ให้เห็นจริง ๆ ... มันนึกคิดขึ้นมาก็รู้ว่า " โอ! ... ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว นึกคิดอยากไปโน่นนี่...โอ!ทุกข์เกิด
นึกคิดคราวใด...โอ!ทุกข์ เราต้องดูจิตดูใจตนเอง
พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "มีแต่ทุกข์เท่านั้นเกิด มีแต่ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นดับ"
เนื้อนาบุญของโลก คือ ผู้ใดมาหาเราต้องสอนเขา สอนจริง ๆ สอนของจริง
เหนือโลก๖
สัตว์นรก หมายถึงคนขี้โกรธ ร้อนอกร้อนใจ นั่งกับที่ไม่ติด เป็นพวกหมาขี้เรื้อน คันตลอด วิ่งวุ่น น่าสมเพชเวทนา นอนไม่ติด อยู่ไหนไม่สุข เหมือนคนเจริญสติอยู่ได้ไม่นานเดี๋ยวก็ไปคุยกับคนโน้นคนนี้ ...
ต้องไม่ปล่อยตัว ปล่อยใจ ให้เป็นหมาขี้เรื้อน ต้องตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติการเจริญสติ
ความเพียรพยายามขั้นแรกที่ต้องทำคือ สร้างสติตลอดช่วงชีวิตของเนสนี่แหละ
ปฏิบัติตรง (ตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ตรงต่อหมู่คณะ ตรงต่อตัวเราเอง)ไม่คิดอะไรไปตามอารมณ์ ไม่ขี้เกียจ ขี้โลภ ขี้โกรธ
ขี้หลง
ต้องไม่ปล่อยตัว ปล่อยใจ ให้เป็นหมาขี้เรื้อน ต้องตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติการเจริญสติ
ความเพียรพยายามขั้นแรกที่ต้องทำคือ สร้างสติตลอดช่วงชีวิตของเนสนี่แหละ
ปฏิบัติตรง (ตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ตรงต่อหมู่คณะ ตรงต่อตัวเราเอง)ไม่คิดอะไรไปตามอารมณ์ ไม่ขี้เกียจ ขี้โลภ ขี้โกรธ
ขี้หลง
เหนือโลก๕
ผี คือ คนคิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว
เทวดา คือ คนคิดดี พูดดี และทำดี
ส่วนที่เข้าใจโดยทั่วไปมันเป็นเรื่องสมมุติ
" สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ นิพพานก็อยู่ในใจ ... คนโบราณท่านพูดถูก แต่เราเข้าไม่ถึงจึงไม่ยอมเชื่อ "
ที่จริงแล้วตัวชีวิตจิตใจนั้นมีความสะอาด สว่าง และสงบ แต่เมื่อกิเลสเข้าไปดูดเกาะจะทำให้จิตใจมืดบอด เป็น เปรต(หิวกระหาย) อสุรกาย(ขี้กลัว ขี้ขลาด) เดรัจฉาน(ขาดความละอาย)
เทวดา คือ คนคิดดี พูดดี และทำดี
ส่วนที่เข้าใจโดยทั่วไปมันเป็นเรื่องสมมุติ
" สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ นิพพานก็อยู่ในใจ ... คนโบราณท่านพูดถูก แต่เราเข้าไม่ถึงจึงไม่ยอมเชื่อ "
ที่จริงแล้วตัวชีวิตจิตใจนั้นมีความสะอาด สว่าง และสงบ แต่เมื่อกิเลสเข้าไปดูดเกาะจะทำให้จิตใจมืดบอด เป็น เปรต(หิวกระหาย) อสุรกาย(ขี้กลัว ขี้ขลาด) เดรัจฉาน(ขาดความละอาย)
เหนือโลก ๔
คนที่มีหูทิพย์ ตาทิพย์ (มีปัญญา) จะมองเห็นความเป็นจริงตามสภาพความเป็นจริง และมองทะลุตัวหนังสือ หรือคำบอกเล่านั้นไปเห็นของจริงและของแท้ได้ และจะมีโอกาสรู้แจ้งรู้จริงในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนให้เราประพฤติปฏิบัตินั้นโดยไม่ต้องเชื่อใครและตำราใดทั้งหมด ผม(หลวงพ่อเทียนฯ)เชื่อว่าการเจริญสตินี้เองจะทำให้คนมีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามนี้ได้
เหนือโลก ๓
... ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ยังไม่มีการเขียนหนังสือกัน ... ในการสังคายนาพระธรรมวินัยในครั้งต้น ๆ หลังปรินิพพาน ยังไม่มีการเขียน แต่ละยุคห่างกันมาก สังคายนาครั้งที่ห้า จึงได้จารเป็นลายลักษณ์อักษร หลังปรินิพพานถึง 450 ปี
ผู้รู้ธรรมอาจรู้ธรรมวินัย จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง จำมาบันทึก คนชั้นหลังอ่านแล้วเชื่อตามที่ได้ยินหรือตามตัวหนังสือนั้น จะตกหล่น สูญหาย ปรับปรุง แก้ไข แต่งเติม แค่ไหนไม่อาจคาดคะเนได้
ผู้รู้ธรรมอาจรู้ธรรมวินัย จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง จำมาบันทึก คนชั้นหลังอ่านแล้วเชื่อตามที่ได้ยินหรือตามตัวหนังสือนั้น จะตกหล่น สูญหาย ปรับปรุง แก้ไข แต่งเติม แค่ไหนไม่อาจคาดคะเนได้
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เหนือโลก๒
เหนือโลก ๒
หากเราปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว มรรคผลนิพพานก็คงไม่สูญหายไปจากโลกนี้
ควรทำตนเป็นผู้มีจิตใจเข้มแข็ง อย่าเกียจคร้าน พยายามฝึกตนให้เป็นเมล็ดข้าว
ที่อ้วนที่เต็มสีออกมาจะได้เป็นข้าวที่หนึ่ง อย่าเป็นข้าวประเภทที่สองสามหรือ
แกลบรำ
เรื่องความคิด ... จงดูความคิดให้เห็นความคิด แต่อย่าไปห้ามความคิด
คิดปุ๊บ - ตัดปั๊บ เลย อันนี้แหละปัญญา เป็นเครื่องกำจัดกิเลส เปรียบได้กับ
น้ำบริสุทธิ์ไร้ตะกอน ซึ่งก็คือชีวิตจิตใจจริง ๆ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มันอยู่ของมัน
เฉย ๆ มีแล้วในทุกคนะเห็น จะรู้ จะเข้าใจได้ก็ต้องทำตามวิธีการของพระพุทธเจ้า
จงเจริญในสติปัญญา
พี/99
หากเราปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว มรรคผลนิพพานก็คงไม่สูญหายไปจากโลกนี้
ควรทำตนเป็นผู้มีจิตใจเข้มแข็ง อย่าเกียจคร้าน พยายามฝึกตนให้เป็นเมล็ดข้าว
ที่อ้วนที่เต็มสีออกมาจะได้เป็นข้าวที่หนึ่ง อย่าเป็นข้าวประเภทที่สองสามหรือ
แกลบรำ
เรื่องความคิด ... จงดูความคิดให้เห็นความคิด แต่อย่าไปห้ามความคิด
คิดปุ๊บ - ตัดปั๊บ เลย อันนี้แหละปัญญา เป็นเครื่องกำจัดกิเลส เปรียบได้กับ
น้ำบริสุทธิ์ไร้ตะกอน ซึ่งก็คือชีวิตจิตใจจริง ๆ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มันอยู่ของมัน
เฉย ๆ มีแล้วในทุกคนะเห็น จะรู้ จะเข้าใจได้ก็ต้องทำตามวิธีการของพระพุทธเจ้า
จงเจริญในสติปัญญา
พี/99
เหนือโลก๑
เหนือโลก ๑
หากจะไปนิพพานต้องรู้จักนิพพานเสียก่อน
หากจะไปสวรรค์ก็ต้องรู้จักสวรรค์
ต้องรู้ว่าทางไปสวรรค์หรือนรกไปทางไหน จะได้ไปไม่ผิด
การทำบุญก็ต้องรู้จักบุญ ถ้าไม่รู้จักบุญก็เอาบุญไม่ได้
บุญจริงคือความไม่มีทุกข์ (ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่ห่วง ไม่หงุดหงิด ฯลฯ)
เทวดา คือผู้คิดดี พูดดี และทำดี
จงเจริญในธรรม
พี/99
หากจะไปนิพพานต้องรู้จักนิพพานเสียก่อน
หากจะไปสวรรค์ก็ต้องรู้จักสวรรค์
ต้องรู้ว่าทางไปสวรรค์หรือนรกไปทางไหน จะได้ไปไม่ผิด
การทำบุญก็ต้องรู้จักบุญ ถ้าไม่รู้จักบุญก็เอาบุญไม่ได้
บุญจริงคือความไม่มีทุกข์ (ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่ห่วง ไม่หงุดหงิด ฯลฯ)
เทวดา คือผู้คิดดี พูดดี และทำดี
จงเจริญในธรรม
พี/99
วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550
จุดประสงค์ของBlog.
เรียน กัลยาณมิตรทุกท่าน
จุดประสงค์ในการบันทึก Blog นี้ เพื่อบันทึกรอยธรรมจากการอ่าน ศึกษา และปฏิบัติในมุมมองส่วนตัวโดย focus ไปในแนว เซ็น (ญี่ปุ่น) ฌาน(จีน) หรือ ธยาน(สันสกฤต) เพื่อเข้าถึงจิตหนึ่ง จิตเดิมแท้ หรือจิตวิมุติ ซึ่งเป็นธรรมชาติแท้จริงของชีวิตแห่งจิตวิญญานที่เป็นนามธรรมแห่งธาติรู้ สูงสุดของความเป็นมนุษย์ เพื่อความเข้าใจ เข้าถึง ตื่นรู้ แห่งมวลมนุษยชาติ
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน
PEE/
จุดประสงค์ในการบันทึก Blog นี้ เพื่อบันทึกรอยธรรมจากการอ่าน ศึกษา และปฏิบัติในมุมมองส่วนตัวโดย focus ไปในแนว เซ็น (ญี่ปุ่น) ฌาน(จีน) หรือ ธยาน(สันสกฤต) เพื่อเข้าถึงจิตหนึ่ง จิตเดิมแท้ หรือจิตวิมุติ ซึ่งเป็นธรรมชาติแท้จริงของชีวิตแห่งจิตวิญญานที่เป็นนามธรรมแห่งธาติรู้ สูงสุดของความเป็นมนุษย์ เพื่อความเข้าใจ เข้าถึง ตื่นรู้ แห่งมวลมนุษยชาติ
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน
PEE/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)